การฝึกทักษะ......นอกห้องเรียน
7 : (15/ 09/ 2015)
เทคนิคการจำ..ยกระดับปัญญา
สำหรับการเรียนหนังสือแล้ว "ความจำ"เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจะทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากเวลาที่เราเริ่มรับข้อมูลด้วยการฟังอย่างเดียวนั้น ความจำได้จะลดลงตามเวลา แต่ถ้าหากเราฟังไปด้วย
จดไปด้วย และคิดตามไปด้วย ความจำได้จะลดลงช้ากว่าการฟังอย่างเดียวมาก
นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการที่ครูค่อยๆ เขียนกระดานและให้นักเรียนค่อยๆ
จดตามไปนั้น ส่งผลดีต่อความจำมากกว่าการปิ้งแผ่นใสหรือฉายไฟล์เพาว์เวอร์พ้อยท์ นอกจากนี้ การคุยไปด้วย ตั้งคำถามให้นักเรียนได้มีโอกาสคิดตามไปด้วย
ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อความจำ วิธีตรวจสอบว่านักเรียนคิดตามหรือไม่
ก็คือการขอให้นักเรียนตอบออกมาดังๆ เทคนิคการเพิ่มความจำอีกอย่างคือการให้การบ้านและขอให้นักเรียนทบทวน
ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะเป็นการกระตุ้นความทรงจำ
จากเมื่อในสัปดาห์ก่อนๆที่ผ่านมาดิฉันได้ฝึกพัฒนาทักษะ
ของดิฉันเกี่ยวกับการฟังภาษาอังกฤษซึ่งปัจจุบัน
ดิฉันชอบที่จะฟังเพลงสากลมากขึ้นและฟังบ่อยทุกวันจนกลายเป็นนิสัย
รวมถึงดิฉันเริ่มมีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการดูหนังฝรั่งแบบไม่มีกี่พากษ์เป็นไทย
และไม่ซับด้านล่างด้วย
ดิฉันมีความรู้สุกว่าภาษาอังกฤษของดิฉันเริ่มมีพัฒนาการและแนวโน้มในทางที่เป็นเชิงบวก
แต่อย่างไรก็ตามใช่ว่าดิฉันจะหมดปัญหากับการใช้ภาษาอังกฤษ
เมื่อดิฉันฟังบ่อยขึ้นสิ่งที่ตามมาขึ้นดิฉันแปลไม่ได้
ถึงแม้การฟังจะรู้ว่าออกเสียงอย่างไร แต่อีกปัญหาคือ การไม่รู้คำศัพท์
ยิ่งดิฉันดูหนัง และฟังเพลงมากขึ้น คำศัพท์ใหม่ๆแปลกๆ ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยๆ แต่ถ้าหากจะให้ดิฉันมานั่งท่องจำทีละตัว ทีละคำ
ต้องยอมรับเลยว่าความจำดิฉันค่อนข้างสั้น ตอนท่องตอนอ่านเข้าใจ จำได้ ผ่านไปสักพักดิฉันลืมหมดสิ่งที่ท่องที่อ่านมากลายเป็นแค่ความคุ้น
แต่นึกไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นดิฉันจึงค้นคว้า หาเทคนิคการจำแบบใหม่ๆ
บางครั้งอาจส่งเสริมระบบความจำของดิฉันมากกว่าแบบเดิมที่นั่งท่องจำเฉยๆ
สุดท้ายพอจะใช้ก็นึกอะไรไม่ออกสักอย่าง
การอ่านหนังสือคงเป็นสิ่งที่หลีกไม่พ้นสำหรับนักเรียนนักศึกษา หรือแม้แต่ครูผู้สอน
และคงมีบางคนประสบปัญหาอ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ ทำให้เมื่อสอบก็ทำคะแนนได้ไม่ดี
จนอาจจะท้อแท้ในการเรียน เทคนิคการจำเนื้อหา เวลาอ่านหนังสือจึงเป็นตัวช่วยชั้นเลิศสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการใช้ความจำ
1. จำเป็นภาพ
วิธีการจำเป็นภาพนั้น เป็นวิธีที่คนเก่งๆจำนวนมากใช้ในการจำเนื้อหาภายในเวลาอันสั้น ถ้าหาสามารถทำได้การจำเนื้อหาบทเรียนต่างๆก็คงไม่ใช่เรื่องยากต่อไป สำหรับเทคนิคการจำเป็นภาพนั้นทำได้ง่ายๆโดยการเปิดรูปภาพดูไปด้วยเมื่อต้องอ่านคำบรรยายลักษณะต่างๆเช่น เมื่ออ่านเรื่องเกี่ยวกับไตแล้วพบคำศัพท์แปลกๆมากมายทั้ง renal pelvis, major calyx, minor calyx อ่านให้ตายยังไงก็จำไม่ได้ ลองเปิดภาพในภาพจะมีการระบุตำแหน่งของแต่ละชื่อให้ด้วย ก็จะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้นานขึ้น เพราะเห็นภาพโครงสร้างมากขึ้น
วิธีการจำเป็นภาพนั้น เป็นวิธีที่คนเก่งๆจำนวนมากใช้ในการจำเนื้อหาภายในเวลาอันสั้น ถ้าหาสามารถทำได้การจำเนื้อหาบทเรียนต่างๆก็คงไม่ใช่เรื่องยากต่อไป สำหรับเทคนิคการจำเป็นภาพนั้นทำได้ง่ายๆโดยการเปิดรูปภาพดูไปด้วยเมื่อต้องอ่านคำบรรยายลักษณะต่างๆเช่น เมื่ออ่านเรื่องเกี่ยวกับไตแล้วพบคำศัพท์แปลกๆมากมายทั้ง renal pelvis, major calyx, minor calyx อ่านให้ตายยังไงก็จำไม่ได้ ลองเปิดภาพในภาพจะมีการระบุตำแหน่งของแต่ละชื่อให้ด้วย ก็จะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้นานขึ้น เพราะเห็นภาพโครงสร้างมากขึ้น
2. ใช้ไฮไลต์เข้าช่วย
ถ้าหากว่าอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ จำได้บ้าง หลุดประเด็นบ้าง สุดท้ายอ่านจบอาจจะพบว่า จำอะไรไม่ได้เลย วิธีการแก้คืออ่านแล้วไฮไลต์ไปด้วย เพราะการไฮไลต์นั้นเป็นการย้ำกับสมองของเราเองว่าประเด็นนี้สำคัญ ประเด็นนี้ต้องรู้ ทำให้สมองได้คิดในประเด็นที่ไฮไลต์ ก่อนที่จะนำไปเก็บไว้ในส่วนความจำของสมองต่อไป การไฮไลต์นั้นนอกจากจะทำให้เราจำเนื้อหาได้ดีขึ้นแล้วนั้นยังทำให้เมื่อเราต้องกลับมาอ่านทบทวนเนื้อหา นั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะถ้าเวลาน้อย ก็อ่านเฉพาะประเด็นหลักๆที่เคยไฮไลต์ไว้แล้วได้
ถ้าหากว่าอ่านหนังสือไปเรื่อยๆ จำได้บ้าง หลุดประเด็นบ้าง สุดท้ายอ่านจบอาจจะพบว่า จำอะไรไม่ได้เลย วิธีการแก้คืออ่านแล้วไฮไลต์ไปด้วย เพราะการไฮไลต์นั้นเป็นการย้ำกับสมองของเราเองว่าประเด็นนี้สำคัญ ประเด็นนี้ต้องรู้ ทำให้สมองได้คิดในประเด็นที่ไฮไลต์ ก่อนที่จะนำไปเก็บไว้ในส่วนความจำของสมองต่อไป การไฮไลต์นั้นนอกจากจะทำให้เราจำเนื้อหาได้ดีขึ้นแล้วนั้นยังทำให้เมื่อเราต้องกลับมาอ่านทบทวนเนื้อหา นั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะถ้าเวลาน้อย ก็อ่านเฉพาะประเด็นหลักๆที่เคยไฮไลต์ไว้แล้วได้
3. จะจำได้ต้องหัดเขียน
อีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยให้สามารถจำเนื้อหาได้คือการเขียน เช่น โครงสร้าง และหลักการหรือข้อยกเว้นต่างๆที่ต้องจำในวิชาภาษาอังกฤษมีเยอะมากๆถ้าจะนั่งท่องไปเรื่อยๆทุกอย่างรับรองว่าท่องเสร็จก็ลืม จำไม่ได้แน่นอน แต่ลองฝึกเขียนในสิ่งที่ท่องลงกระดาษสิ เมื่อต้องเขียนนั้นทุกอย่างที่เราจะเขียนออกมาได้นั้นต้องผ่านสมอง ดังนั้นโครงสร้าง และหลักการหรือข้อยกเว้นต่างๆ ที่จะเขียนออกมาได้นั้นก็ต้องผ่านสมอง แล้วสมองก็จะเก็บสิ่งเหล่านั้นเข้าไปส่วนความจำได้
อีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยให้สามารถจำเนื้อหาได้คือการเขียน เช่น โครงสร้าง และหลักการหรือข้อยกเว้นต่างๆที่ต้องจำในวิชาภาษาอังกฤษมีเยอะมากๆถ้าจะนั่งท่องไปเรื่อยๆทุกอย่างรับรองว่าท่องเสร็จก็ลืม จำไม่ได้แน่นอน แต่ลองฝึกเขียนในสิ่งที่ท่องลงกระดาษสิ เมื่อต้องเขียนนั้นทุกอย่างที่เราจะเขียนออกมาได้นั้นต้องผ่านสมอง ดังนั้นโครงสร้าง และหลักการหรือข้อยกเว้นต่างๆ ที่จะเขียนออกมาได้นั้นก็ต้องผ่านสมอง แล้วสมองก็จะเก็บสิ่งเหล่านั้นเข้าไปส่วนความจำได้
4. ทำสรุปสั้นๆ
เมื่ออ่านเนื้อหาบทใดบทหนึ่งจบแล้ว ลองทำสรุปเนื้อหาสั้นๆของบทนั้นๆ จะช่วยให้จำเนื้อหาได้มากเลย เพราะคนที่จะสามารถสรุปเนื้อหาได้นอกจากจะต้องจำได้แล้ว ยังต้องเข้าใจ และจับประเด็นที่สำคัญได้ออด้วย ดังนั้นถ้าหากได้ลองสรุปเนื้อหาก็เปรียบเสมือนการได้ทบทวนเนื้อหาอีกครั้ง เช็คความเข้าใจ และฝึกจับประเด็น
เมื่ออ่านเนื้อหาบทใดบทหนึ่งจบแล้ว ลองทำสรุปเนื้อหาสั้นๆของบทนั้นๆ จะช่วยให้จำเนื้อหาได้มากเลย เพราะคนที่จะสามารถสรุปเนื้อหาได้นอกจากจะต้องจำได้แล้ว ยังต้องเข้าใจ และจับประเด็นที่สำคัญได้ออด้วย ดังนั้นถ้าหากได้ลองสรุปเนื้อหาก็เปรียบเสมือนการได้ทบทวนเนื้อหาอีกครั้ง เช็คความเข้าใจ และฝึกจับประเด็น
5. ต้องอ่านบ่อยๆ
ข้อนี้ตรงไปตรงมาเพราะแน่นอนว่าการอ่านบ่อยๆนั้นจะช่วยให้เราสามารถจำเนื้อหาได้ดีขึ้น และดีกว่าการอ่านเยอะๆช่วงใกล้สอบเพียงอย่างเดียวด้วย อาจจะแบ่งเวลาช่วงเย็นของทุกวัน ในการอ่านทบทวนบทเรียนที่เรียนมาในวันนั้นๆแค่นี้ก็ช่วยให้จำบทเรียนได้มากขึ้น
ข้อนี้ตรงไปตรงมาเพราะแน่นอนว่าการอ่านบ่อยๆนั้นจะช่วยให้เราสามารถจำเนื้อหาได้ดีขึ้น และดีกว่าการอ่านเยอะๆช่วงใกล้สอบเพียงอย่างเดียวด้วย อาจจะแบ่งเวลาช่วงเย็นของทุกวัน ในการอ่านทบทวนบทเรียนที่เรียนมาในวันนั้นๆแค่นี้ก็ช่วยให้จำบทเรียนได้มากขึ้น
จากบทความที่ดิฉันค้นเจอ 5 เทคนิคนี้ง่าย และสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องหาอุปกรณ์ใดมาช่วย มีเพียงความอดทนและพยายามของตัวดิฉันเองเท่านั้น
ดิฉันจะนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กับการเรียนในแต่ละคาบ และประยุกต์ใช้กับการ
จำคำศัพท์ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้ภาษาอังกฤษของดิฉันอยู่ตอนนี้
ทัศนคติต่อการเรียนรู้
นักเรียนโดยทั่วไปจะมีทัศนคติว่าตนเองมีความสามารถในการเรียนรู้ที่จำกัด
จะไม่สามารถเรียนรู้ของที่ยากเกินว่าขีดจำกัดหนึ่งซึ่งพวกเขาสร้างมันขึ้นมาในจิตใจ
ข้อจำกัดนี้เป็นทั้งข้ออ้างและตัวขัดขวางการเรียนรู้ของนักเรียนคนนั้นๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ หากครูมีวิธีที่ทำให้นักเรียนชอบหรือว่ารักหรือว่าหลงใหลในเนื้อหาวิชาแล้ว
ครูจะพบว่านักเรียนจะเฝ้าครุ่นคิดถึงมันและจะจำได้จนไม่มีวันลืม แต่ถ้าหากครูทำให้นักเรียนรู้สึกหดหู่ เจ็บปวด
หรือว่าทรมานกับเนื้อหาวิชาแล้ว ผลที่ได้จะกลับเป็นตรงกันข้าม ดังนั้นครูจำต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเรียนรู้ของนักเรียนให้เป็นลักษณะของการเจริญงอกงาม
โดยใช้แนวคิดที่ว่า ภายใต้กลยุทธ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม
ให้เวลากับการเรียนรู้อย่างเพียงพอ และใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ดี
จะทำให้ความสามารถของนักเรียนค่อยๆ เติบโต และเจริญงอกงาม จนกระทั่งสามารถเรียนรู้อะไรก็ได้
แม้แต่สิ่งที่ยากที่สุด แล้วจะไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับการเรียนรู้อีกต่อไป
แหล่งที่มา
http://www.top-atutor.com/15106519/5
http://www.vcharkarn.com/varticle/61718
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น