Learning Log
7 th : 22/09/2015
การใช้
If
Clause
เรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญที่จำเป็นจะต้องศึกษาให้เข้าใจนั่นคือ เรื่อง sentences เพราะในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาการแปล
เรามักจะต้องพบเจอประโยคต่างๆมากมายหลายประเภท ทั้ง ประโยคความเดียว (Simple
Sentence) ประโยคความรวม (Compound Sentence) ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) และประโยคความผสม
(Compound-Complex Sentence) ซึ่งมีทั้งที่แบบไม่ซับซ้อน
เข้าใจง่าย สามารถตีความหรือแปลความหมายได้เลย และยังมีแบบที่ซับซ้อน ซึ่งมีการรวม clause ต่างๆเข้าด้วยกันโดยใช้ตัวเชื่อมเข้ามาเชื่อมประโยคทั้งสองหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกัน
จึงทำให้ประโยคมีความยาวขึ้น และเข้าใจยากขึ้น
บางครั้งในประโยคยาวๆยังมีการละลดรูปทำให้ประโยคมีความซับซ้อน
ทั้งยังยากในการแปลความหมายด้วย ดิฉันกำลังจำกล่าวถึงประโยคในรูป If Clause ที่มีรูปแบบการใช้ และการแปลที่ต่างกัน ต้องยึดหลักให้ถูกต้อง
ความหมายของประโยคจะได้ไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
If-sentence
ก็คือ ประโยคเงื่อนไขที่ใช้เพื่อแสดงว่า ‘ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น
ก็จะมี
อีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา’ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ‘ถ้ามีประโยคเหตุ (if clause) เกิดขึ้น ก็จะมีประโยค (result clause) ผลตามมา’ เช่น If you invite him, he will come. ถ้าเธอเชื้อเชิญเขาเขาก็จะมา ประโยคนี้ If you invite him คือประโยคเหตุ ส่วน he will come คือประโยคผล If-sentence แบ่งเป็น 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
อีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา’ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ‘ถ้ามีประโยคเหตุ (if clause) เกิดขึ้น ก็จะมีประโยค (result clause) ผลตามมา’ เช่น If you invite him, he will come. ถ้าเธอเชื้อเชิญเขาเขาก็จะมา ประโยคนี้ If you invite him คือประโยคเหตุ ส่วน he will come คือประโยคผล If-sentence แบ่งเป็น 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
1.
If-sentence ที่แสดงความเป็นไปได้สูงหรือที่เป็นจริงเสมอ ถ้าเราต้องการกล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆในปัจจุบันที่เป็นไปได้สูงหรือที่เป็นจริงเสมอ
เราจะ
ใช้ if-sentence และ tenses ในรูปดังต่อไปนี้ If + Present Simple , + Present Simple
ใช้ if-sentence และ tenses ในรูปดังต่อไปนี้ If + Present Simple , + Present Simple
–If he asks me,
I will go with him.
ถ้าเขาขอฉัน
ก็มีความเป็นไปได้มากที่ฉันจะไปกับเขา
–If you don’t study hard,
you can’t pass the exams.
ถ้าเธอไม่ศึกษาอย่างหนัก
ก็มีความเป็นไปได้มากที่เธอจะสอบไม่ผ่าน
–What will you do,
if she says ‘no’?
คุณจะทำยังไง ถ้าเจ้าหล่อนปฏิเสธ?
–If the lighting appears,
there follows the thunder.
ถ้าฟ้าแล่บ ก็จะมีฟ้าร้องตามมาเสมอ
–If it rains, the
streets are flooded.
ถ้าฝนตก น้ำก็จะท่วมถนนเป็นประจำ
–If we freeze water,
it will change into ice.
ถ้าเราทำให้น้ำถึงจุดเยือกแข็ง
น้ำก็จะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งเสมอ
การใช้ if-sentence
ที่แสดงความเป็นไปได้สูงหรือที่เป็นจริงเสมอนี้
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดให้ประโยคเหตุ (if clause) ใช้กับ present
simple เพราะ present simple เป็น tense
ที่แสดงข้อเท็จจริงนั่นเอง ดังนั้นเมื่อมีการใช้ if-sentence
ในกรณีนี้ขึ้นทั้งผู้สื่อและผู้รับสื่อก็จะเข้าใจตรงกันทันทีว่า
if-sentence ที่ใช้กับ present simple นี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้สูงหรือข้อเท็จจริง
อย่างไรก็ตาม การใช้ if-sentence ในกรณีนี้มีความยืดหยุ่นในแง่ที่ว่า
ในบางครั้ง ประโยคเหตุ (if clause) สามารถใช้ present
tense อื่นๆได้ เช่น present continuous เป็นต้น
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์การใช้ของผู้ใช้แต่ละคนให้มากที่สุด
เช่น
–If you are listening, I
want to tell you I love you.
ถ้าคุณกำลังฟังอยู่ ผมอยากจะบอกว่าผมรักคุณ
ถ้าคุณกำลังฟังอยู่ ผมอยากจะบอกว่าผมรักคุณ
–Please stay tune, if you have
won.
กรุณาอย่าเพิ่งเปิดไปช่องอื่น ถ้าคุณเพิ่งตอบคำถามถูกไปเมื่อซักครู่
กรุณาอย่าเพิ่งเปิดไปช่องอื่น ถ้าคุณเพิ่งตอบคำถามถูกไปเมื่อซักครู่
2. If-sentence ที่เป็นการสมมติหรือจินตนาการให้บางสิ่งเกิดขึ้น ถ้าเราต้องการกล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆในปัจจุบันที่เป็นการสมมติหรือจินตนาการให้บางสิ่งเกิดขึ้น
เราจะใช้ if-sentence และ tenses ในรูปดังต่อไปนี้ If + Past Simple , S + would + V1
–If Einstein were alive,
he would agree with me.
สมมติว่าถ้าไอนสไตนยังมีชีวิตอยู่
เขาก็คงเห็นด้วยกับผม
–If I were bird,
I could fly.
สมมติว่าถ้าผมเป็นนก
ผมก็คงบินได้
–If I were him,
I would invest in emerging market.
สมมติว่าถ้าผมเป็นเขานะ
ผมก็คงลงทุนในตลาดเกิดใหม่
–If the earth had 2
moons, the night sky would be so exotic.
สมมติว่าถ้าโลกมีดวงจันทร์
2
ดวง ท้องฟ้ายามค่ำคืนก็คงจะประหลาดล้ำ
–If she were/was here,
I would propose.
สมมติว่าถ้าเจ้าหล่อนมาอยู่ที่นี่นะ
ผมก็จะขอเจ้าหล่อนแต่งงาน
–I could call her, if I had her
phone number.
ผมจะโทรหาเจ้าหล่อน ถ้าเพียงแต่ว่าผมมีเบอร์ของเจ้าหล่อนเท่านั้น
การใช้ if-sentence ที่เป็นการสมมติหรือจินตนาการให้บางสิ่งเกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน’ นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดให้ประโยคเหตุ (if clause) ใช้กับ
past simple ทั้งๆที่เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ
เวลาปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เพื่อ
แสดงว่า นี่เป็นเรื่องของการสมมติหรือจินตนาการที่บิดเบี้ยวไปจากข้อเท็จจริง การใช้ tense ในประโยคเหตุ (และประโยคผล) จึงบิดเบี้ยวไปจากหลักการใช้ tense ทั่วไปด้วย นั่นคือแทนที่จะเป็น present simple ก็กลายเป็น past simple ไป ดังนั้น เมื่อมีการใช้ if-sentence ที่แสดงความเป็นปัจจุบันในรูป past simple ทั้งผู้สื่อและผู้รับสื่อก็จะเข้าใจตรงกันทันทีว่า if-sentence นี้เป็นเรื่องของการสมมติหรือจินตนาการขึ้นมา ไม่ใช่เรื่องของข้อเท็จจริง
แสดงว่า นี่เป็นเรื่องของการสมมติหรือจินตนาการที่บิดเบี้ยวไปจากข้อเท็จจริง การใช้ tense ในประโยคเหตุ (และประโยคผล) จึงบิดเบี้ยวไปจากหลักการใช้ tense ทั่วไปด้วย นั่นคือแทนที่จะเป็น present simple ก็กลายเป็น past simple ไป ดังนั้น เมื่อมีการใช้ if-sentence ที่แสดงความเป็นปัจจุบันในรูป past simple ทั้งผู้สื่อและผู้รับสื่อก็จะเข้าใจตรงกันทันทีว่า if-sentence นี้เป็นเรื่องของการสมมติหรือจินตนาการขึ้นมา ไม่ใช่เรื่องของข้อเท็จจริง
3.
If-sentence ที่เป็นการสมมติให้เหตุการณ์ในอดีตที่ไม่เกิด ขึ้นให้เกิดขึ้น
ถ้าเราต้องการกล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆที่เป็นการสมมติให้เหตุการณ์ในอดีตที่ไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
เราจะใช้ if-sentence
และ tenses ในรูปดังต่อไปนี้ If
+ Past Perfect , S + would + have + V3
–If I had known that
movie was fun, I would have watched it.
ถ้าบังเอิญผมรู้ว่าหนังเรื่องนั้นสนุก
ผมก็น่าจะได้ดูมัน ไม่ใช่ไม่ได้ดูอย่างนี้
–If I had set my
alarm clock, I could have woken up early.
ถ้าบังเอิญผมตั้งนาฬิกาปลุกไว้
ผมก็คงตื่นเช้า ไม่ตื่นสายอย่างนี้
–If I had got some
advice, I might have bought that stock.
ถ้าบังเอิญผมได้รับคำแนะนำ
ผมก็คงซื้อหุ้นตัวนั้นไว้ ไม่ใช่ไม่ได้ซื้ออย่างนี้
–If he had
shot himself, he wouldn’t have arranged his
birthday party.
ถ้าบังเอิญเขาเจตนายิงตัวตายนะ เขาก็คงไม่เตรียมจัดงานวันเกิดไว้อย่างนี้ดอก
(= ผู้พูดคิดว่า he ไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่อาจถูกคนอื่นฆ่า แล้วมีการจัดฉากว่าเป็นการฆ่าตัวตาย)
ถ้าบังเอิญเขาเจตนายิงตัวตายนะ เขาก็คงไม่เตรียมจัดงานวันเกิดไว้อย่างนี้ดอก
(= ผู้พูดคิดว่า he ไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่อาจถูกคนอื่นฆ่า แล้วมีการจัดฉากว่าเป็นการฆ่าตัวตาย)
If
clause มีหลายชนิดซึ่งสามารถสังเกตได้ตามโครงสร้างของประโยค If
clause แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ซึ่งแต่ละประเภทก็สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกหลายประเภท
ความรู้เรื่องIf clauses สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ทั้งที่เกิดขึ้นในอดีต
ปัจจุบันและอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่อาจเกิดขึ้นจริงก็ได้
ดังนั้นดิฉันมีการ Tenses ว่าIf
clause ประเภทไหนใช้กับTense อะไร
ซึ่งจะทำให้รู้ว่าอะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผลที่จะเกิดขึ้น ในสัปดาห์ที่แล้วได้มีการศึกษาในเรื่องของ Clause &
Phrase ซึ่งมีความสำคัญมาก
ในการเรียนภาษาอังกฤษเพราะหากเราไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เราจะไม่สามารถเรียนรู้ได้เข้าใจและไม่สามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้
โครงสร้างทางภาษาแตกต่างจากภาษาไทยมากจึงทำให้คนไทยเข้าใจในเรื่องนี้ได้ยาก
ที่มา :
http://www.englishtrick.com/grammargood/if_sentence.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น