Learning
Log
6 : (15/09/2015)
การสอนแบบบูรณาการ
ปัจจุบันสังคมไทยมีกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากจนส่งผลให้เกิด
วิกฤติการณ์หลายรูปแบบขึ้นในสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม
การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนั้นยังส่งผลให้เกิดกระแสเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษาขึ้นเพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
และการเมืองของประเทศอย่างแท้จริง เป้าหมายของการจัดการศึกษาจะต้องมุ่ง สร้างสรรค์สังคมให้มีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยรวม
มุ่งสร้างคนหรือผู้เรียนซึ่งเป็น
ผลผลิตโดยตรงให้มีคุณลักษณะที่มีศักยภาพและความสามารถที่จะพัฒนาตนเองและสังคมไปสู่ความสำเร็จได้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ
วิธีการสำคัญที่สามารถสร้าง และพัฒนาผู้เรียนให้เกิด คุณลักษณะต่างๆ
ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง
เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเอง และได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ซึ่งแนวคิดการจัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญา การศึกษา
และทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน
และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์
ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา(กระบวนการคิด)
กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม)
และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนที่ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ
ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ ในศาสตร์สาขาต่างๆ
ใช้หลากหลายวิธีการสอนหลากหลายแหล่งความรู้สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า
การจัดการศึกษามีเป้าหมาย สำคัญที่สุด คือ
การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด
ตามกำลังหรือ ศักยภาพของแต่ละคน
การสอน เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามความหมายของการศึกษา
คือ การส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาและพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การสอนมีความ หมายที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปรัชญาหรือจุดมุ่งหมายที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ผู้สอน วิธีการสอน และการเรียนรู้ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผู้สอนจะต้องมีจรรยาบรรณแห่งความเป็นครู
วิธีการสอนคือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้สอนกับผู้เรียนจะต้องสอดคล้อง
เหมาะสม เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพื่อให้การสอนบรรลุตามเป้าหมาย ผู้สอนต้องเตรียมการสอนมาอย่างดี
ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทุกด้าน จัดการสอนอย่างมีกระบวนการ
และให้ครบองค์ประกอบการสอน ได้แก่
การตั้งจุดประสงค์การสอน การกำหนดเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การใช้สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตรงตามจุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร นอกจากนี้ผู้สอนควรได้คำนึงถึงหลักพื้นฐานในการสอน
ลักษณะการสอนที่ดี และปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนรู้จักใช้หลักการสอนให้สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้หลักจิตวิทยาบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ก็จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่า
ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลกระทบเพียงอย่างเดียว
แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางด้านการศึกษาอีกด้วย
และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมของแต่ละชาติ
ประวัติศาสตร์ที่มีความแตกต่างกัน
เพราะเราไม่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อความขัดแย้งและเกลียดชังแต่เรียน
รู้เพื่อรู้จักวัฒนธรรมที่แตกต่างระหว่างประเทศ
เด็กจึงจำเป็นที่จะต้องเห็นภาพของสังคมแบบองค์รวมเพื่อเป็นหลักในการสร้าง
ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันอย่างมั่นคงและเป็นสุข บทบาทและการปรับตัวของครู
เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่า “ครูมีอาวุธอยู่แล้วในมือ
นั่นคือความรู้และแผนการสอนที่มีอยู่
ดังนั้นครูจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเชื่อมโยงให้มีความต่อเนื่องกัน
และเตรียมนักเรียนอย่างเป็นระบบ ที่ไม่ใช่แค่การท่องจำอย่างเดียวว่า
ผู้นำคนนั้นชื่ออะไร ประเทศนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่ต้องมีการแบ่งแยกระดับชั้นของเด็กเพื่อให้มองประชาคมอาเซียนได้ชัดเจนกว่าเดิมอีก
พร้อมทั้งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ
รู้จุดยืนที่เหมาะสมในสังคม และสามารถมองรอบด้านได้
ที่สำคัญเป็นครูไทยยุคนี้ต้องตื่นตัวก้าวทันความรู้ใหม่ๆ
ต้อนรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” (ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล)
กระบวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบูรณาการนั้น
จะต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เน้นการสอนที่เป็นบูรณาการ (Integrative Teaching Styles) ซึ่งต้องมีวิธีการที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ผสมผสานกัน
ฝึกให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยวิธีสืบสอบ (Inquiry) หรือใช้วิธีการแก้ปัญหา
(Problem Solving) เน้นการทำงานร่วมกัน
มีงานกลุ่มหรืองานเดี่ยวผสมผสานกันไป
เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในประสบการณ์จริง
ประสบการณ์การเรียนรู้ควรอยู่ในขอบเขตสมรรถภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน
จึงต้องพิจารณาขอบเขตการเรียงลำดับของเนื้อหาของลักษณะวิชารวมทั้งลักษณะของผู้เรียนด้วย
และให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง เมื่อครูผู้สอนมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีแล้ว
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือความตั้งใจตัวผู้เรียนเอง การเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยตนเองเพื่อฝึกและพัฒนาความรู้
หรือเรียกอีกอย่างว่า การต่อยอดความรู้ และมีการหาเทคนิคต่างๆเพื่อเพิ่มทักษะหรือ
อำนวยความสะดวกต่อกิจกรรมการเรียนการสอน อย่างเช่น เทคนิคการจำในแบบของตนเอง
เป็นต้น
แหล่งที่มา
http://academic.reru.ac.th/download/2557
http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1164
https://blog.eduzones.com/anisada/98517
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น