Learning
Log
4:
(01092015)
การศึกษากับสภาพสังคมไทย
การศึกษาไทยนั้นตกต่ำลงอย่างมาก
และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในเร็ววันนี้
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นแทบจะกลายเป็นปัญหาคาราคาซัง
ซึ่งปัญหาเหล่านี้คือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเหล่าเด็กไทยที่เข้าเรียนในระบบการศึกษาไทย
เช่นปัญหา คุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่ำ ในการจัดการทดสอบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Ordinary
National Educational Test: O-Net) ในทุกๆปีนั้น
ผลที่ออกมามักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกๆปี นั่นก็คือ
เด็กไทยมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐานอยู่เสมอๆ
หรือแม้แต่การศึกษาขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization
for Economic Co-operation and Development, OECD) ที่รู้กันในชื่อของ
PISA (Program for International Students Assessment) พบว่านักเรียนไทยที่จัดได้ว่ามีความรู้วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูงมีเพียง
1% เท่านั้นเอง ทั้งๆที่เราใช้เวลาในการเรียนการสอนมากกว่า 8 ชม. ต่อวัน PISA
ยังพบว่า เด็กไทย 74% อ่านภาษาไทยไม่รู้เรื่อง
คือมีตั้งแต่อ่านไม่ออก อ่านแล้วตีความไม่ได้ วิเคราะห์ความหมายไม่ถูก
หรือแม้แต่ใช้ภาษาให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาวิชาอื่นๆ
แต่เรากลับมองสภาพเหล่านี้ด้วยความเคยชิน
และยังคงเชื่อว่าลูกหลานของเราจะต้องได้บการพัฒนาโดยการจัดการศึกษาแบบเดิมๆอย่างทุกวันนี้
อีกทั้งยังมีการขาดแคลนบัณฑิตแต่บัณฑิตก็ยังตกงาน ประเทศเราไม่มีแผน
และกลไกการกำกับการผลิตกำลังคนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
ในขณะที่ผู้สำเร็จการศึกษาในบางสาขามีมากมายจนล้นงาน จนพบเนืองๆ ว่า
ในการรับสมัครงานบางตำแหน่ง
มีผู้สมัครหลายหมื่นคนเพื่อแย่งกันเข้าทำงานที่มีการรับเพียงไม่กี่สิบอัตรา แต่บางสาขาวิชากลับขาดแคลนกำลังคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม และทางด้านการแพทย์
เราต้องการให้มีผู้เข้าศึกษาสายอาชีวะประมาณครึ่งหนึ่ง
จึงจะทำให้มีกำลังคนเพียงพอต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า มีผู้เข้าเรียนอาชีวะเพียง 27% ทั้งนี้
นับรวมถึงผู้ที่ไม่ได้เรียนสายอาชีวะแท้ แต่ไปเรียนอยู่ในวิทยาลัยอาชีวะด้วย เช่น
สาขาด้านการบริหาร ซึ่งหมายความว่า หากนับสายช่างจริงๆ จะมีจำนวนน้อยกว่านั้นมาก
กลายเป็นว่าในปัจจุบันเด็กที่เข้าเรียนในการจัดการศึกษาในระบบนั้นมีอนาคตที่ค่อนข้างชัดเจนว่าจะต้องตกงาน
และปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด
คุณภาพอุดมศึกษาหรือปริญญาเฟ้อ มหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มมีปัญหาเรื่องหาคนเข้าเรียน
ทำให้ประสบปัญหาเรื่องความคุ้มทุน
นำไปสู่ความจำเป็นที่ต้องดำเนินการด้านการตลาดทุกวิถีทาง
และมุ่งเปิดสอนแต่สาขาวิชาที่ทำได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และได้เงินเร็ว
ซึ่งระบาดไปทุกระดับชั้นปริญญา เรามีบัณฑิตล้นงานในหลายสาขา
แต่ขณะเดียวกันก็มีการขาดแคลนในสาขาวิชาที่ยากๆ
มหาวิทยาลัยจำนวนมากมุ่งหาเงินจนเป็นระบบการศึกษาเชิงปริมาณ
ความจำเป็นที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดเช่นนี้ อาจพอเข้าใจได้สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนซึ่งต้องแบกภาระค่าดำเนินการต่างๆ
ด้วยรายได้ที่ต้องหามาเอง ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ได้กระจายเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยของรัฐด้วย
ในรูปแบบของการเพิ่มจำนวนนักศึกษาโดยตรง
หรือการจัดทำเป็นโครงการพิเศษในลักษณะต่างๆ รวมทั้งเปิดสอนนอกสถานที่ตั้ง
ซึ่งหากวิเคราะห์การเงินของโครงการเหล่านี้แล้วจะพบว่าส่วนใหญ่กลายเป็นค่าสอนของอาจารย์
สถานการณ์เช่นนี้ลุกลามไปจนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า ปริญญาเฟ้อ ทุกระดับชั้นปริญญา
กลายเป็นค่านิยมของสังคมที่ต้องเรียนอย่างน้อยถึงปริญญาโท
และกำลังจะคุกคามต่อไปถึงปริญญาเอก การขาดวิจัยและพัฒนา ขาดนวัตกรรม
และปัญหาความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ในปี 2548 อาจารย์อุดมศึกษาไทยรวมประมาณ 50,000
คน ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเพียง ประมาณ 2,000 ฉบับ
ในจำนวนนี้ 90% เกิดมาจากมหาวิทยาลัยเพียง 8 แห่ง
ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยที่เหลืออีกร้อยกว่ามหาวิทยาลัยตีพิมพ์เพียง 10%
เท่านั้นเอง
ข้อมูลเช่นนี้ชี้ชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยของเราอ่อนด้อยในด้านการวิจัย
ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ หากเราไม่มีการวิจัย
เราก็จะขาดทุนทางปัญญา ในโลกยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
ส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เมื่อประเทศเราขาดงานวิจัย
เราจึงเสียเปรียบทางเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งหมดนี้
เกิดมาจากที่ระบบการศึกษาที่มีความอ่อนแอด้านการวิจัย
ปัญหาเหล่านี้คือปัญหาคาราคาซังที่ส่งผลต่อประเทศชาติมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดการพัฒนาในด้านที่ดีขึ้นแต่อย่างไร หนำซ้ำผู้ที่ได้รับปัญหาโดยตรงที่สุดคือเยาวชนไทยที่จะต้องเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ยังเป็นปัญหาเหล่านี้อยู่ทุกปี และปลายทางของพวกเค้าก็คือความล้มเหลวอย่างที่ไม่น่าเกิดขึ้นในประเทศที่ขึ้นชื่อว่ากำลังพัฒนา ทั้งๆที่จริงแล้วนั้นเยาวชนและพ่อแม่ผู้ปกครองต่างคาดหวังว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการพัฒนาชีวิตของเด็กและเยาวชน ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องกลับมาดูว่า เมื่อเราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว เรายังจะเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระบบการศึกษาไทย หรือเลือกที่จะจัดการศึกษาด้วยตนเองให้มีประสิทธิภาพแทน ในภาวะที่โลกกำลังไหลไปตามกระแสทางด้านวัตถุอย่างไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้คนเกือบทุกสังคมตกอยู่ภายใต้การครอบงำของค่านิยมทางวัตถุ ส่งผลให้มนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาความเสื่อมทรามด้านศีลธรรม บางครั้งผู้คนในบางสังคมก็ได้รวมตัวกันออกมาเรียกร้องจริยธรรมกับผู้บริหารประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนถึงจุดวิกฤติบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นจริงในสังคม
ปัญหาเหล่านี้คือปัญหาคาราคาซังที่ส่งผลต่อประเทศชาติมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดการพัฒนาในด้านที่ดีขึ้นแต่อย่างไร หนำซ้ำผู้ที่ได้รับปัญหาโดยตรงที่สุดคือเยาวชนไทยที่จะต้องเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ยังเป็นปัญหาเหล่านี้อยู่ทุกปี และปลายทางของพวกเค้าก็คือความล้มเหลวอย่างที่ไม่น่าเกิดขึ้นในประเทศที่ขึ้นชื่อว่ากำลังพัฒนา ทั้งๆที่จริงแล้วนั้นเยาวชนและพ่อแม่ผู้ปกครองต่างคาดหวังว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการพัฒนาชีวิตของเด็กและเยาวชน ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องกลับมาดูว่า เมื่อเราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว เรายังจะเลือกส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระบบการศึกษาไทย หรือเลือกที่จะจัดการศึกษาด้วยตนเองให้มีประสิทธิภาพแทน ในภาวะที่โลกกำลังไหลไปตามกระแสทางด้านวัตถุอย่างไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้คนเกือบทุกสังคมตกอยู่ภายใต้การครอบงำของค่านิยมทางวัตถุ ส่งผลให้มนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาความเสื่อมทรามด้านศีลธรรม บางครั้งผู้คนในบางสังคมก็ได้รวมตัวกันออกมาเรียกร้องจริยธรรมกับผู้บริหารประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนถึงจุดวิกฤติบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นจริงในสังคม
ปัจจุบันทุกสถาบันการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการสอดแทรกคุณธรรม
จริยธรรมเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกรายวิชา
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของผู้เรียนควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าและความสำเร็จให้แก่ชีวิตของผู้เรียน
อีกทั้งยังเป็นการสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ให้แก่สังคมไทยด้วย
ซึ่งจากการเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำให้ได้ข้อคิดที่ว่า
กระบวนการสอดแทรกคุณธรรมต้องทำแบบเชื่อมโยง ตามองค์ประกอบต่อไปนี้
1. สถานที่และสภาพแวดล้อมในสถาบันการศึกษาเอื้อต่อการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรม เช่น มีความสะอาด เป็นระเบียบ เรียบร้อย ร่มรื่น เป็นต้น
2. บุคคล หมายถึง ทุกคนในองค์กรที่ต้องเป็นต้นแบบทางคุณธรรม
จริยธรรม และต้องช่วยกันสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษา
มิใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
หรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ
3. หลักสูตร หมายถึง ทุกรายวิชาต้องสอดแทรกคุณธรรม
จริยธรรมเข้าไปด้วยอาจมากหรือน้อยก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม หมายความว่า
อาจารย์ทุกท่านจะต้องทำหน้าที่สอดแทรกคุณธรรม
จริยธรรมเข้าไปในเนื้อหาของทุกรายวิชาที่เปิดสอน
4. กิจกรรม หมายถึง
ทุกกิจกรรมที่เกี่ยวกับนักศึกษาที่จัดขึ้นทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย
โดยเฉพาะกิจกรรมในชั้นเรียน ต้องมุ่งเน้นให้เกิดความสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม
เป็นสำคัญ
การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมทั้ง 4 ข้อนั้น ต้องทำให้เป็นเอกีภาพ หมายถึง ทุกหน่วยงาน
บุคลากรทุกคนต้องร่วมใจกันทำ และต้องมีลักษณะเป็น อนุสาสนี หมายถึง
การสอดแทรกอย่างต่อเนื่อง มิใช่ ทำ ๆ หยุด ๆ เหมือนไฟไหม้ฟาง
และต้องกำหนดเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ให้ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
การสอดแทรกคุณธรรม
จริยธรรมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น
ซึ่งกลุ่มผู้สอนไม่ได้ถือว่าเป็นเกณฑ์ตายตัว โดยผู้สอนท่านอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับรายวิชาที่ใช้ประกอบการสอดแทรกคุณธรรม
จริยธรรมหรือกลุ่มของผู้เรียน โดยมีข้อเสนอแนะที่กลุ่มผู้สอนใช้ยึดเป็นหลักปฏิบัติ
3 ประการ คือ
1. ตั้งความรัก ความปรารถนาดีต่อศิษย์
มุ่งให้เข้าได้รับประโยชน์ที่เกิดจากภูมิธรรม เครื่องนำชีวิตสู่ความสำเร็จ
และได้ซึมซับคุณธรรม จริยธรรมให้มากที่สุด
2. ต้องเสียสละและใช้ความอดทนสูงในการรับภาระอันหนักหน่วง
โดยเฉพาะเรื่องการตรวจแบบกิจกรรมรายบุคคล โดยขอให้ยึดหลักปรัชญา 2 ประเด็น คือ
2.1 เอาผู้เรียนเป็นครู หมายความว่า การตรวจงานของนักศึกษาจะทำให้เราเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนด้วย
ที่สำคัญเราจะได้แนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนจากนักศึกษา
บางครั้งเราอาจนึกไม่ถึงว่า โลกทัศน์ของนักศึกษานั้นช่างวิเศษจริง
2.2 การได้ทำหน้าที่ของครู การจัดกิจกรรมและการตรวจงานของนักศึกษายังทำให้เราได้ทำหน้าที่ของครูอีกหลายประการ
เช่น ตรวจสอบแนวคิด ความผิดถูกของการเขียน คุณภาพของงาน
ตลอดจนการกระทำผิดในบางเรื่อง เช่น การคัดลอกกันหรือการทำงานให้กัน
เมื่อพบก็ยิ่งทำให้เราต้องทำหน้าที่ของครูในการที่จะทำในเรื่องที่ถูกต้อง เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ผิดธรรมของนักศึกษา
และให้เขาได้ โลกทัศน์ในการทำงานใหม่บนพื้นฐานของธรรม
3. ใช้หลักอุเบกขา คือความเป็นกลาง
ความยุติธรรมที่ต้องมีให้แก่ศิษย์ทุกคน โดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง
โดยยึดเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน และธรรมคือความถูกต้องเป็นแบบในการปฏิบัติ
คำพูดที่ว่า
“ครูเป็นเช่นไร ศิษย์ก็เป็นเช่นนั้น” ยังใช้ได้จนถึงปัจจุบัน ครูแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21
จะต้องสนใจในเทคโนโลยีต่าง
ๆที่มีเพิ่มมากขึ้นในศตวรรษที่21มีการปรับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการมีนวัตกรรม ICT
ที่มีคุณสมบัติทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการจัดการห้องเรียน
ห้องสมุด การเรียนการสอน
และสื่อสังคมสมัยใหม่สามารถยกระดับสู่คุณภาพสถานศึกษายุคใหม่
ที่มีประสิทธิภาพสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ครูที่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ได้ทั่วโลกผ่านทางInternet
ผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
ที่สามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนได้หลากหลาย แต่จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสมและสอดแทรกคุณธรรม
จริยธรรม พร้อมประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ให้แนวทางที่ถูกที่ควรไม่ใช่อำนาจแทนการกดขี้ลูกศิษย์ จะต้องตั้งมันในจรรยาบรรณของอาชีพยึดมั่นในความเป็นครูอยู่เสมอ
ในทางกลับกันผู้เรียนก็ต้องเป็นฝ่ายช่วยเหลือและพัฒนาทักษะของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้กิจกรรมการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้นจากการที่ดิฉันได้เรียนวิชาการแปล1
ท่านอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาดังกล่าวได้ให้ความรู้
เบื้องต้นเกี่ยวกับ Adjective Clause หรือ Relative
Clause เมื่อหมดคาบแล้วอาจารย์ก็ได้ให้ดิฉันไปศึกษารายละเอียดต่อด้วยตนเอง
และจากการที่ดิฉันได้ค้นคว้าเพิ่มเติมก็มีรายละเอียดดังนี้
Adjective Clauses/Relative Clauses
ในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ
ผู้ส่งสารได้แก่ผู้พูดหรือผู้เขียนอาจต้องการสื่อสารข้อความที่มีรายละเอียดการอธิบาย
หรือขยายคำนามในประโยคโดยไม่อาจใช้เพียงคำหรือกลุ่มคำคุณศัพท์ได้
ในกรณีดังกล่าวส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนามในประโยคอาจอยู่ในรูปของประโยคอีกประโยคหนึ่งคือมีภาคประธานและภาคแสดง
จึงมีลักษณะเหมือนประโยคย่อยๆ ที่ซ้อนอยู่ในประโยคหลัก โดยใช้คำนำหน้าประโยคย่อยนี้เพื่อเชื่อมต่อกับประโยคหลัก
ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำคุณศัพท์ขยายคำนามในประโยคหลักดังกล่าวเรียกว่าadjective
clause ซึ่ง adjective clause นี้มีเรื่องที่ควรรู้
เพื่อให้สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพได้แก่ 1) หน้าที่ 2) การใช้คำนำหน้า 3) ประเภท 4) การละคำนำหน้า
และ 5) การลดรูป
หน้าที่ของ adjective Clauses
adjective clause ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่มาข้างหน้า
โดยอาจใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้าหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้า
· The snake which is lying near the horse stable has killed the cow.
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า which is lying
near the horse stable เป็น adjective clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายคำนาม the snake ในประโยคหลัก The snake has killed the
cow. โดย adjective clause นี้ชี้เฉพาะว่า
งูตัวไหนที่ทำให้วัวตาย
· Mrs. Jones, who lives next door, has just donated her blood to the
Red Cross.
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า
who lives next door เป็น adjective
clause ซึ่งทำหน้าที่ขยายคำนาม Mrs.
Jones ในประโยคหลัก Mrs.
Jones has just donated her blood to the Red Cross. โดย adjective
clause นี้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mrs. Jones ว่าอาศัยอยู่บ้านหลังถัดไป
คำนำหน้า adjective
clauses
adjective clause จะมี relative pronoun หรือ relative adverb นำมาข้างหน้า
ดังนั้น adjective
clause จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “relative clause”
คำที่ใช้เชื่อม adjective
clause กับคำนามหรือสรรพนามที่มาข้างหน้ามีดังนี้
1) Relative
Pronouns
who, whom, whose ใช้แทนคน
which
ใช้แทนสัตว์และสิ่งของ
that
ใช้แทนได้ทั้ง คน
สัตว์ และสิ่งของ
2) Relative
Adverbs
where ใช้แทนสถานที่
when ใช้แทนเวลา
why ใช้แทนเหตุผล
การใช้คำนำหน้า adjective
clause มีหลักดังนี้
1)
Relative Pronouns who, whom, whose ใช้แทนคำนามข้างหน้าที่เป็นคน
who ใช้เป็นประธานของคำกริยาใน adjective clause
whom
ใช้เป็นกรรมของคำกริยาหรือคำบุพบทใน adjective clauseใช้แทนเหตุผล
whose
ใช้แสดงความเป็นเจ้าของระหว่างคำนามที่มาข้างหน้าและคำนามที่อยู่ข้างหลัง
which
ใช้แทนคำนามข้างหน้าที่เป็นสัตว์และสิ่งของ โดยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมใน
adjective clause
that
ใช้แทนได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ
โดยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของคำกริยาใน adjective clause โดยปกตินิยมใช้ that เมื่อคำนามที่อยู่ข้างหน้ามีคำคุณศัพท์แสดงการเปรียบเทียบขั้นสูงสุดหรือคำคุณศัพท์บอกลำดับที่มาขยายคำนามนั้น
ข้อสังเกต
1. adjective clause ที่นำหน้าด้วย that และ that นั้นทำหน้าที่เป็น object of a preposition จะต้องไม่ใช้คำบุพบทหน้า that แต่สามารถใช้คำบุพบทตามหลังคำที่ต้องใช้กับคำบุพบทนั้น
ภายใน adjective clause ได้
2. เมื่อใช้ that นำหน้า adjective clause จะไม่ใช้เครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่า’
adjective clause กับคำนามที่ขยาย
Relative Adverbs
where ใช้แทนคำนามที่บอกสถานที่ ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective
clause
(มาจาก preposition + which)
when ใช้แทนคำนามที่บอกเวลาซึ่งทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน
adjective clause
why ใช้แทนคำนามที่บอกเหตุผล ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective
clause
ประเภทของ adjective
Clause
adjective
clause แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1 Defining Clause
ใช้ชี้เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า
ว่าเป็นคนไหน สิ่งไหน อันไหน ไม่ใช้เครื่องหมายใด ๆ
คั่นระหว่างคำนามกับ adjective
clause ที่ตามมา
2 Non-defining Clause
ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามที่มาข้างหน้า โดยมีเครื่องหมาย comma
(,) คั่น
ระหว่างคำนามกับ adjective
clause ที่ตามมา
3
Sentential Relative Clause
ใช้ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทั้งข้อความ
ไม่ใช่เฉพาะคำนามที่มาข้างหน้า และจะใช้
which นำหน้าเท่านั้นโดยมีเครื่องหมาย comma คั่นจาก main clause ที่มาข้างหน้า
การละคำนำหน้าใน adjective
clauses
คำนำหน้า/คำเชื่อม who, whom, which,
that ใน adjective
clause สามารถละได้ในกรณีต่อไปนี้
1 เมื่อทำหน้าที่เป็น direct
object ใน defining clause
The dress (which) I like
is now on sale.
which
ทำหน้าที่ เป็นกรรมของกริยา like ใน adjective
clause ที่มา ขยายคำนาม the dress ใน main
clause คือ The dress is now on sale. ประโยคนี้หมายความว่า
ชุด(ที่)ฉันชอบตอนนี้อยู่ในช่วงลดราคา
The person (that) we admire most is
General Pathompong.
that ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา admire most ใน adjective clause ที่มาขยายคำนาม the
personใน main clause คือ The person
is General Pathompong. ประโยคนี้หมายความว่า
บุคคล(ที่)ฉันชื่นชมมากที่สุด คือ พลเอกปฐมพงษ์
.2 เมื่อทำหน้าที่เป็น object
of a preposition ใน defining clause
The
person with whom I talked about my study problem is a new director of
the school.
whom ทำหน้าที่ เป็นกรรมของบุพบท with ใน
adjective clause ที่มาขยายคำนาม the personใน main clause คือ The person is a new
director of the school. ประโยคนี้หมายความว่า
บุคคล(ที่)ฉันคุยเรื่องปัญหาการเรียนด้วย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนคนใหม่ จึงละคำ whom
ได้ โดยเมื่อละ whom แล้ว บุพบท with ต้องอยู่ท้าย adjective clause นั้น ดังนี้
The person (whom) I talked about my study
problem with is a new director of the
school.
การลดรูป adjective
clause
คำนำหน้า “who”,
“which” และ “that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ
adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้
โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม
ดังนี้
หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย
เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนาม
ที่เรียกว่า appositive
ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective
clause
|
วิธีการลดรูปเป็น appositive
noun phrase
|
Prof. Chakarin, who is
my thesis adviser, will retire next year.
|
Prof. Chakarin, who is my
thesis adviser, will retire next year.
Prof. Chakarin, my thesis adviser,
will retire next year.
|
2 Prepositional Phrase
adjective clause ที่มี who, which และ that
เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who which
และ that มีคำกริยาและบุพบท
ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิม.ห้ตัดคำกริยาออกได้
เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective
clause
|
วิธีการลดรูปเป็น appositive
noun phrase
|
The lady who is dressed
in the national costume is a beauty queen.
|
The lady who is dressed in
the national costume is a beauty queen.
The lady in the national costume is
a beauty queen.
ในที่นี้ dressed
in the national costume มีความหมายเหมือน in the national
costume
|
adjective clause ที่มี who, which และ that
สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป
BE + infinitive with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive
phrase ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective
clause
|
วิธีการลดรูปเป็น appositive
noun phrase
|
He is the first person who is to be
blamed for the violence yesterday.
|
He is the first person who
is to be blamed for the violence yesterday.
He is the first person to be blamed
for the violence yesterday.
|
4 Participial Phrase
1) Present Participial Phrase
adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูป โดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)
1) Present Participial Phrase
adjective clause ซึ่งมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูป โดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)
ประโยคที่ใช้ adjective
clause
|
วิธีการลดรูปเป็น appositive
noun phrase
|
The school students who visited the
national museum were very excited.
|
The school students who visited the
national museum were very excited.
The school students visiting the
national museum were very excited.
|
2) Past Participial Phrase
adjective clause ซึ่งมี which และ who
เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ
who มีกริยาในรูป passive form (BE
+ past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ
BE ออก
เหลือแต่ past participle ดังนี้
ประโยคที่ใช้ adjective clause
|
วิธีการลดรูปเป็น appositive noun phrase
|
The money which was lost during the
trip was returned to its owner.
|
The money
The money lost during the trip was returned to its
owner.
|
จากการศึกษาสภาพปัญหาของการศึกษาในสังคมไทย
มีจุดเริ่มต้นและปมปัญหาที่ลึกซึ้งซับซ้อนอยู่มากไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากผู้ดูแลระบบการศึกษาระดับสูง ครูอาจารย์
ผู้ปกครอง หรือแม่แต่สภาพปัญหาที่สืบเนื่องมาจากตัวผู้เรียนเอง สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นปัญหาเดิมๆและไร้หนทางแก้ไขให้หมดไป
สิ่งสำคัญที่ผู้เรียนอย่างเราพึงปฏิบัติได้ คือ การจัดการกับการเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวผู้เรียนเอง
เพราะผู้เรียนอย่างเราคงทำอะไรไปไม่ได้มากกว่านี้
เราคงไม่สามารถเข้าไปออกแบบหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบการศึกษาได้มันเป็นเรื่องไกลตัวเกินไปแต่ผู้เรียนนี้แหละจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
ถ้าหากผู้เรียนมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการศึกษาไปในทิศทางที่เป็นบวก รู้จักขยัน
มีความพยายามความอดทน พร้อมกับยังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความรู้ของตัวผู้เรียนเองอยู่เสมอ
และสำคัญอีกเช่นกันหากพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้เรียนส่วนใหญ่ขยายวงกว้างไปเรื่อยๆก็จะเป็นพื้นฐานกำลังสำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศชาติ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนจะต้องควบคู่ไปกับความมีคุณธรรม
จริยธรรมในจิตใจ
เพื่อส่งเสริมให้รากฐานการศึกษาและความเป็นพลเมืองที่ดีแข็งแรงยิ่งขึ้น
และในไม่ช้ารากฐานเหล่านี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนให้ประเทศชาติพัฒนาอย่างแน่นอน
https://www.gotoknow.org/posts/492081
https://blog.eduzones.com/training/129954
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น