Welcome To Blog Translation การแปล 1 By Massalin Saelee 5681114028

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559



หลักการแปลวรรณกรรม

            วรรณกรรมถูกเขียนและเล่าโดยภาษา ภาษา จึงเป็นเครื่องมือและวิธีการสำคัญของวรรณกรรม ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน แนวคิดที่เห็นว่าวรรณกรรมคือภาษา ให้ความสำคัญต่อวรรณกรรมที่เล่าปากเปล่า หรือเรียกว่า “วรรณกรรมมุขปาฐะ” เท่าๆ กับวรรณกรรมที่เขียนเป็นลายลักษณ์ ทั้งนี้เพราะเห็นว่าฐานของวรรณกรรมก็คือภาษานั่นเอง  แนวคิด นี้ทำให้เกิดยกระดับคำถามเกี่ยวกับ “ความเป็นวรรณกรรม” ในสื่อต่างๆ ที่ต่างไปจากตัวบทวรรณกรรมโดยตรง อาทิ ภาพยนตร์ การเต้นรำ การแสดง รูปภาพ เรื่องเล่า ละครเพลง นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่าภาษาคือสารัตถะสำคัญของวรรณกรรมและมีภาษาใน งานอื่น ๆ ที่สามารถพิจารณาในฐานะวรรณกรรมได้ “วรรณกรรม” หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้วิธีร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานของกวีโบราณหรือปัจจุบัน ซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เรียกว่า “วรรณคดี” ด้วย

          หลักการแปลนวนิยาย  นวนิยายแปลเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกประเทศและทุกกาลสมัย ผู้แปลมีความสำคัญเกือบจะเท่ากับผู้แต่ง งานแปลนวนิยายและหนังสือประเภทบันเทิงคดี มักจะนำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่ผู้แปล ดังนั้นงานแปลประเภทนี้จึงมีความสำคัญมากในวงการแปล คุณค่าของวรรณกรรมอยู่ที่ศิลปะในการใช้ภาษาของผู้แปลที่สามารถค้นหาถ้อยคำสำนวนสละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับได้เป็นอย่างดี
1. การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม ชื่อหนังสือหรือชื่อภาพยนตร์มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะผู้แต่งได้พิถีพิถันตั้งชื่องานอย่างดีที่สุด เพื่อบอกคุณลักษณะของงานเพื่อเร้าใจผู้อ่านผู้ชมให้สนใจกระหายใคร่ติดตามงานของเขา และเพื่อบอกผู้อ่านเป็นนัยๆว่า ผู้เขียนต้องการสื่ออะไรต่อผู้อ่าน
การแปลชื่อเรื่อง ไม่แปล แต่ใช้ชื่อเดิม (ทับศัพท์) ด้วยวิธีการถ่ายทอดเสียง หรือถ่ายทอดตัวอักษร แปลตรงตัว ถ้าชื่อต้นฉบับมีความสมบูรณ์ครบถ้วนเหมาะสมก็จะใช้วิธีแปลตรงตัวโดยรักษาคำและความหมายไว้ด้วยภาษาไทยที่ดีและกะทัดรัด แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน จะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูดืและไม่สื่อความหมายเพียงพอ ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง ผู้แปลต้องใช้ความเข้าใจวิเคราะห์ชื่อเรื่องและเนื่องเรื่องจนสามารถจับประเด็นสำคัญ และลักษณะเด่นของเรื่อง จึงสามรถตั้งชื่อใหม่ที่ดีได้
2.  การแปลบทสนทนา สิ่งที่เป็นปัญหายุ่งยากของการแปลนวนิยายคือ บทสนทนา หรือถ้อยคำโต้ตอบกันของตัวละคร ซึ่งใช้ภาษาพูดหลายระดับ แตกต่างกันตามสถานภาพทางสังคมของผู้พูด ตั้งแต่ภาษา ราชาศัพท์ ภาษาสุภาพ ภาษาที่เป็นทางการ ภาษากันเอง และบางครั้งก็เป็นภาษาพูดระดับตลาด ซึ่งเต็มไปด้วยคำแสลง คำตัดสั้นๆที่ใช้กันตามความเป็นจริง
3. การแปลบบรรยาย เป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ซึ่งมักใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับ ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการแปลเพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับเดิม
          หลักการแปลบทละคร บทละคร คือ วรรณกรรมการแสดงถ้าไม่มีดรตรีหรือบทร้อยกรองประกอบเรียกว่า ละครพูด ถ้ามีดนตรีหรือบทร้องเป็นส่วนสำคัญก็เรียกกันทั่วไปว่า ละครร้อง ละครรำ ละครไทยมีชื่อเรียกมากมาย เช่น ละครชาตรี ลิเก การอ่านต้นฉบับบทละคร อ่านหลายๆครั้ง อ่านครั้งแรกเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องอย่างคร่าวๆ ตรวจสอบความเข้าใจด้วยการตั้งคำถาม  ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด อ่านครั้งต่อไปเพ่อค้นหาความหมายของคำและวลีที่ไม่รู้จักโดยใช้พจนานุกรมช่วย และหาความรู้รอบตัวเมเติมเกี่ยวกับต้นฉบับ
          หลักการแปลบทภาพยนตร์บทภาพยนตร์ที่นำแปลจะถ่ายทอดเป็นบทเขียนก่อน นอกจากบางครั้งไม่มีบทเขียน ผู้แปลต้องดูและฟังจากฟิล์ม จุดประสงค์หลักของบทภาพยนตร์แปลมี 2 ประการ คือ
1. นำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์ม
2. นำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์ม
วิธีแปลบทภาพยนตร์ มีขั้นตอนดำเนินการเช่นเดียวกับการแปลบทละคร และการ์ตูน ซึ่งต้องอ่านทั้งข้อความ ภาพ และฉากพร้อมๆกันโดยมีสัมพันธภาพต่อกัน
          หลักการแปลนิทาน นิยาย บันเทิงคดีประเภทนิทาน นิยาย เรื่องเล่า เป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณสมัยที่ยังไม่ใช้ตัวอักษรสื่อสารกัน คนโบราณสื่อกันด้วยการบอกเล่า นิทาน นิยาย และเรื่องเล่าจึงเป็นการเล่าเรื่องด้วยปากด้วยวาจา
1. การอ่านต้นฉบับนิทาน อ่านครั้งแรกอย่างรวดเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทาน แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่องด้วยคำถามทั้ง 5 คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม อ่านครั้งต่อไปอย่างช้า และค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ และวลี ที่ไม่ทราบความหมาย ค้นหาความหมายในพจนานุกรม
2. การเขียนบทแปล การใช้ภาษาในนิทานอีสปเรื่องนี้เป็นภาษาระดับกลาง ใช้วิธีเขียนแบบเก่า โบราณ ไม่เหมือนปัจจุบัน การใช้ภาษาในการแปลสรรพนามที่สัตว์ใช้นิทานนี้ ควรใช้ภาษาเก่า เช่น เจ้า ข้า ตอนจบเป็นคำสอน การแปลชื่อของเรื่องนี้ สามารถใช้วิธีแปลตรงตัวได้

          หลักการแปลเรื่องเล่า ผู้อ่านจะต้องเข้าใจปมของอารมณ์ขัน และหยิบยกขึ้นมาแปลถ่ายทอดให้ตรงตามต้นฉบับ เรื่องเล่าแฝงอารมณ์ขันมักจะใช้ถ้อยคำจำกัดกะทัดรัด ถ้ามีความกำกวมก็เป็นเพราะผู้เขียนจงใจ เพราะความกำกวมสร้างอารมณ์ขันได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะกระชั้นชิดแบบรวดเดียวจบ เพื่อให้ความกระชับ ตอนจบเป็นจุดเด่นของเรื่อง วิธีแปลเรื่องเล่า ดำเนินแปลตามขั้นตอน เช่นเดียวกับการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆ คือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจแล้วเขียนบทแปล
1. การอ่านต้นฉบับเรื่องเล่า อ่านครั้งแรกอย่างรวดเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทาน แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่องด้วยคำถามทั้ง 5 คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม
2. การเขียนบทแปล การใช้ภาษาในเรื่องนี้เป็นภาษาระดับกลาง มีความกำกวม และอารมณ์ขัน ผู้แปลต้องเลือกหาคำที่ฟังดูน่าขัน
          หลักการแปลการ์ตูน หลักการสำคัญในการแปลการ์ตูน คือการใช้คำแปลที่สั้น ชัดเจน เข้าใจได้ หรือสื่อความหมายได้ สามรถจำกัดจำนวนคำให้อยู่ภายในกรอบคำที่พูดได้ ภาษาในบทสนทนาของการ์ตูนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น ซึ่งผู้แปลต้องใช้ความสังเกต และความระมัดระวังให้การใช้ภาษาแปลมีความสอดคล้องกัน  วิธีแปลการ์ตูนดำเนินการแปลตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลเรื่องเล่า คือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจโดยสังเกตรายละเอียดของภาพด้วย
1. การอ่านและดูภาพการ์ตูน การอ่านครั้งแรก อ่านเร็วๆ เพื่อทำความเข้าใจคำพูด และภาพ แล้วตอบคำถาม
2. การเขียนบทแปล เมื่อเข้าใจเรื่องราวตลอดแล้ว อ่านซ้ำอีกอย่างละเอียดเพื่อเตรียมการเขียน ถ้ายังเขียนไม่ได้ก็หมายความว่ายังเข้าใจไม่แจ่มแจ้ง เพราะติดศัพท์บางตัว ผู้แปลควรหาหนังสือมาอ่าน
          หลักการแปลกวีนิพนธ์ กวีนิพนธ์เป็นวรรณกรรมที่แต่งเป็นบทร้อยกรอง มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวด้วยการจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์ และจำยวนบรรทัด ทั้งเสียงหนัก เบา การสัมผัส และจังหวะไทยเราเรียกข้อบังคับของกวีนิพนธ์ว่า นทลักษณ์ ใช้เป็นแนวทางแต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอน
จุดมุ่งหมายของกวีนิพนธ์ เพื่อเล่าเรื่อง ให้ความรู้และสอนศีลธรรมขณะเดียวกันก็ให้ความบันเทิงเพลิดเพลิน มุ่งแสดงความรู้สึกนึกคิดมากกว่าเล่าเรื่อง ดังนั้นการแปลกวีนิพนธ์จึงต้องแปลให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายด้วย
ลักษณะของการแปลกวีนิพนธ์
1. แปลเป็นร้อยกรอง นิยมใช้กับวรรณคดีโบราณมุ้งเน้นทั้งเนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษา นอกจากจะแปลเนื้อหาสาระยังต้องรักษาวิธีนำเสนอที่ใกล้ที่สุด พยายามเล่นคำ เล่นความหมายต้นฉบับทุกจังหวะ ทุกบททุกตอน
2. แปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต
ปัญหาการแปลกวีนิพนธ์ ความเข้าใจ ผู้แปลจำเป็นต้องเข้าใจภูมิหลังของกวีมากพอสมควร จึงจะเกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ได้ และการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวน

          วรรณกรรมมิใช่เป็นแต่เพียงสื่ออย่างเดียว หากสิ่งที่แฝงลึกลงไปในช่องไฟระหว่างตัวอักษร ยังสะท้อนให้เห็นถึงความตื้นลึกหนาบางทางภูมิปัญญาของผู้เขียน และลึกลงไปในภูมิปัญญานั้นก็คือความจริงใจที่ผู้เขียนสะท้อนต่อตัวเองและต่อ ผู้อ่าน (พิทยา ว่องกุล. 2540 : 1) วรรณกรรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ชาติที่เจริญแล้วทุกชาติจะต้องมีวรรณกรรมเป็นของตัวเอง และวรรณกรรมจะมีมากหรือน้อย ดีหรือเลว ก็แล้วแต่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจของชนในชาตินั้น ๆ วรรณกรรมเป็นเครื่องชี้ให้รู้ว่า ชาติใดมีความเจริญทางวัฒนธรรมสูงแค่ไหนและยุคใดมีความเจริญสูงสุด ยุคใดมีความเสื่อมทรามลง เพราะฉะนั้นวรรณกรรมแต่ละชาติ จึงเป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า ยุคใดจิตใจของประชาชนในชาติ มีความเจริญหรือเสื่อมอย่างไร
ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารความรู้สึกนึกคิดถ่ายทอดจิตนาการและ แสดงออกซึ่งศิลปะอันประณีตงดงาม การศึกษาหรืออ่านวรรณกรรมแต่ละเรื่องทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ของยุคสมัยที่ผู้ประพันธ์ได้สะท้อนผ่านมุมมองของตนออกมา รวมทั้งทำให้ผู้อ่านเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่มีต่อสภาพการณ์เหล่า นั้นด้วย  ดังนั้นวรรณกรรมจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์แทบทุกด้านอาจกล่าวได้ ว่า สังคมมนุษย์ที่เจริญมีอารยธรรม และเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวรรณกรรมทั้งสิ้น วรรณกรรมต่างมี บทบาท ความสำคัญ และอิทธิพลไม่มากก็น้อย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น