Welcome To Blog Translation การแปล 1 By Massalin Saelee 5681114028

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559



Text Types
          การเขียนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก เพราะการเขียนเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการบันทึกความจำ สื่อสารความคิด และเป็นหลักฐานและเอกสารอ้างอิงได้ การเขียนสามารถพัฒนาความคิดของคนในสังคม เพราะมนุษย์ได้เรียนรู้วิทยาการต่าง ๆ จากข้อเขียนของผู้รู้ หรือจากงานวิจัยต่าง ๆ ดังนั้น สังคมจึงมีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้การเขียนยังเป็นเครื่องมือที่บุคคลในอาชีพต่าง ๆ ใช้ประกอบการทำงาน เช่น วิศวกรเขียนรายงานความก้าวหน้าของโครงการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และนักวิจัยเขียนรายงานการวิจัย ครูอาจารย์เขียนตำรา เอกสารประกอบการสอน และรายงานการวิจัย ผู้ปฏิบัติงานสำนักงานเขียนบันทึกข้อความหรือจดหมาย เป็นต้น ในการเขียน นอกจากผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงหลักการเบื้องต้นของการเขียน ซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ที่แน่นอนในการเขียน เนื้อหา หลักภาษาและไวยากรณ์ การเลือกคำศัพท์ ลีลาการเขียน รวมทั้งตัวสะกดที่ถูกต้อง การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และการเขียนตัวอักษรเล็กตัวอักษรใหญ่ เพื่อไม่ให้ผู้อ่านสับสนหรือเข้าใจผิดได้โดยง่ายแล้ว ผู้เขียนยังต้องคำนึงถึงและวิเคราะห์ผู้อ่าน เพื่อสื่อเนื้อหาที่ต้องการให้เหมาะสมกับผู้อ่านแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะผู้อ่านมีบทบาทสำคัญต่อการเขียนและการนำเสนองานเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปแบบงานเขียน การกำหนดหัวข้อเรื่อง ขอบเขตของเรื่อง วิธีนำเสนอเรื่อง ลักษณะภาษา และลีลาการเขียน

การเขียนทั่วไป  
          รูปแบบการเขียน หมายถึง วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบ รูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียน  เหตุผลที่งานเขียนเกิดขึ้นในรูปแบบชนิดต่างๆ เพื่อการดึงดูดความสนใจ หรือให้ความบันเทิง งานเขียนแต่ละชนิด จะมีรูปแบบและ วิธีการนำเสนอแตกต่างกันไป
1. Descriptive Writing การเขียนบรรยาย เป็นการเขียนเล่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพเหตุการณ์ ลำดับเวลา สถานที่ บุคคล ผู้เขียนควรกล่าวถึง เหตุการณ์ให้ชัดเจน โดยมีข้อมูลและเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะแสดงความคิด บางครั้งอาจแทรกบทสนทนาตัวละครทำให้ผู้อ่านเข้าใจลักษณะอารมณ์ความคิดของตัวละครและเข้าใจเรื่องทั้งหมด
2. Narrative Writing การเขียนเรียงความบรรยาย เป็นการบรรยายบอกเล่าเรื่องราว วัตถุประสงค์ของการเขียนประเภทนี้คือการนับเป็นประสบการณ์ที่ส่วนบุคคลหรือสมมติหรือเพื่อบอกเล่าเรื่องราวขึ้นอยู่กับเหตุการณ์จริง
3. Recount (Telling Story) เป็นการเล่าเรื่อง บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์ เช่น เล่าประวัติ เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์ชีวิต เล่าเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ บันทึกเหตุการณ์ บันทึกประจำวัน
4. Discussion เป็นข้อเขียนที่อภิปรายถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างของสิ่งสองสิ่งหรือบุคคล ความคิด สถานที่ ฯลฯ อาจเป็นข้อเขียนที่อภิปรายอย่างไม่ลำเอียง หรือจูงใจให้ผู้อ่านเห็นประโยชน์ของฝ่ายหนึ่ง อาจเป็นข้อเขียนง่ายๆที่ทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน หรือลงลึกให้หยั่งรู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์ ข้อเขียนอาจอภิปรายทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่าง หรืออาจอภิปรายเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความคล้ายคลึง และความแตกต่างระหว่างเมืองสองเมือง หรือระหว่างบุคคลสองคน

5. Exposition or Argument แบบอภิปรายให้เหตุผล เป็นข้อเขียนที่พยายามโน้มน้าวผู้อ่านให้เห็นด้วยกับความเห็นของผู้เขียน อาจเขียนแบบให้คิดอย่างจริงจังหรือแบบสนุกสนาน แต่ต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อความเห็นของผู้เขียน อาจเขียนอย่างตรงไปตรงมา หรือค่อยๆโน้มน้าวโดยอาศัย การใช้คำ
6. Procedure เป็นการอธิบายถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าทำอย่างไร โดยทั่วไปอธิบายการกระทำที่แสดงออกมาตามลำดับ รูปแบบการเขียนจะเป็นคำและทำเป็นขั้นตอน หรืออาจเขียนในรูปแบบการเล่าเรื่อง พร้อมกับคำแนะนำหรือคำอธิบายเป็นช่วงๆไปโดยตลอด
7. Information report เป็นการเขียนอธิบายรายงานข้อมูลข่าวสารตามความเป็นจริง
8. Explanation การเขียนเรียงความเชิงอธิบาย มี หลายแนวทางที่ใช้ในการเขียนเรียงความเชิงอธิบาย ทั้งการตรวจสอบหรืออธิบายว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยความคิดเห็นส่วนบุคคลมากกว่าหลักฐานสนับสนุนความจริงจากบุคคลหรือ องค์กรที่น่าเชื่อถือ จะเป็นการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นสภาพความเป็นจริง อธิบายความรู้สึกและวิเคราะห์จากความจริงที่ปรากฏอยู่ อาจใส่ รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือขั้นตอนที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจในงานเขียนเรา ใช้กราฟ ไดอะแกรม แบบสำรวจและข้อมูลทางสถิติเพื่อสนับสนุนบทสรุปและเหตุผลของเรา
9. Personal response การเขียนส่วนตัว มีรูปแบบการเขียน ได้แก่ อีเมล บันทึกส่วนตัว รายการข่าวสาร จดหมาย บันทึกสั้นๆ และบัตรต่างๆ

การเขียนแบบเฉพาะ
1. The Personal Letter การเขียนจดหมายส่วนตัว การเขียนจดหมายเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างบุคคลหรือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ช่วย ทำให้ระยะทางไกลเป็นใกล้ เพราะไม่ว่าบุคคลหรือหน่วยงานจะห่างไกลกันแค่ไหนก็สามารถใช้จดหมายส่งข่าว คราวและแจ้งความประสงค์ได้ตามความต้องการ การส่งสารหรือ ข้อความในจดหมายต้องเขียนให้แจ่มแจ้งชัดเจน เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย เช่น การเขียนเพื่อแสดงความยินดี
2. Envelope การเขียนเพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่อาศัย เช่น การจ่าหน้าซองจดหมาย
3. The Formal Letter จดหมายทางราชการทั่วไป ใช้ในการอธิบายรายละเอียด อาจเป็นจดหมายเกี่ยวกับการทำงาน เป็นจดหมายที่ใช้ภาษาสุภาพ 
4. Letter to The Editor การเขียนเชิงบรรณาธิการ แสดงความคิดเห็นส่วนตัว เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
5. Postcard ส่วนใหญ่จะใช้ในการเขียนเล่าถึงการท่องเที่ยว หรือการเดินทาง
6. Invitation จดหมายเชิญชวน เขียนเพื่อเชื้อเชิญบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือเจาะจง
7. Diary Extract เป็นการเขียนเพื่อจดบันทึกประสบการณ์ของผู้เขียน อาจมีอารมณ์และรูปแบบที่แตกต่างกันไป ตามผู้เขียนแต่ละคน
8. Interviews/Dialogues การสัมภาษณ์ หรือการสนทนากลุ่ม ส่วนใหญ่มักใช่ในงานวิจัย
9. Script Writing เป็นการเขียนสคริปโดยยึดตามรูปแบบ เพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องปฏิบัติ
10. A Newspaper Report การเขียนรางานข่าวบนหนังสือพิมพ์
11. Feature Article เป็นงานเขียนประเภทบทความสารคดี อาจปรากฏบนนิตยาสาร หนังสือพิมพ์
12. Pamphlet แผ่นพับเผ่นปลิว ใช้สำหรับการโฆษณา ดึงดูดความสนใจ โน้มน้าวผู้อ่าน
13. Advertising การโฆษณา เป็นการเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า หรือบริการ เพื่อโน้มน้าวผู้อ่านให้สนใจในโปรโมชั่นของสินค้านั้นๆ
         
          ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจตกลงกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม  ฉะนั้นการใช้ภาษาจึงต้องใช้ได้ตรงตามกำหนดของสังคม ไม่ว่าเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน หากสิ่งใดผิดแปลกไปจากข้อตกลงการสื่อสารก็จะหยุดชะงักล่าช้าลง ผิดแผกไปจากเจตนาหรือ ไม่สามารถสื่อสารได้ ภาษาเขียน เป็นภาษาที่เคร่งครัดต่อการใช้ถ้อยคำและคำนึงถึงหลักภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารให้ถูกต้อง และใช้ใน การเขียนมากกว่าการพูด ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เขียนให้เป็นประโยค เลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในการสื่อสาร เป็นภาษาที่ใช้ในพิธีการและเป็นทางการ เช่น การกล่าวรายงาน กล่าวปราศัย กล่าวสดุดี การประชุมอภิปราย การปาฐกถา การใช้ภาษาจะระมัดระวังไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็น หรือคำฟุ่มเฟือยหรือการเล่นคำจนกลายเป็นการพูดหรือเขียนเล่นๆ ดังนั้นภาษาพูดและภาษาเขียน จึงมีความสำคัญที่นักเรียนจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ  และฝึกใช้ให้ถูกต้อง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น