Welcome To Blog Translation การแปล 1 By Massalin Saelee 5681114028

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559



ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

              ในยุคปัจจุบันนี้ มนุษยโลกได้ปฏิรูปเข้ายุคข้อมูลข่าวสารไร้แนวพรมแดน ซึ่งเป็นเหตุให้การขับเคลื่อนและเปลี่ยนถ่ายไปอย่างทันทีแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่นการสื่อสารในช่วงเวลานี้ที่ต้องมีภาษากลางในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ภาษาเหล่านี้ยิ่งเพิ่มจุดสำคัญทั้งในแนวกลุ่มและเศรษฐกิจในทุกมิติ เพื่อจำต้องใช้ภาษาในการติดต่อประสานงานอยู่เป็นประจำและขยายความเข้าใจด้าน มากมาย ให้มีประสิทธิภาพเต็มที่ยิ่งขึ้น ถ้าทุกๆคนมีความรู้และความเข้า ใจด้านภาษาเหล่านี้แล้ว ย่อมจะเกิดผลดีต่อตนเอง หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความทันสมัยและต่อยอดองค์ความรู้ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศที่สำคัญ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจึงเป็นอีกตัวกลางหนึ่งที่สำคัญ ที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจต่อคนต่างแดน ยิ่งไปกว่านี้องค์ความรู้ต่างๆ ยังได้รับการแปลมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นความรอบรู้ใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้รับการแปลมาก่อน คนทั่วไปก็สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้า เนื่องมาจากในสมัยปัจจุบันการขายความรู้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการ บูรณาการและการก้าวหน้าในด้านต่างๆ โดยมีการติดต่อดูงานในต่างบ้านต่างเมืองอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นจึงต้องมีขั้นเทพในการแปลภาษา รวมไปถึงมี ศิลป์ในการใช้ถ้อยคำหรือวาทศิลป์ ซึ่งเป็นเหตุให้ภาษาที่แปลนั้น เว้นแต่จะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนบริบูรณ์แล้วยังจะได้คำแปลที่น่าอ่าน ไพเราะ ชื่นชอบ และมีคุณภาพ
          การเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วย “ภาษาที่เป็นธรรมชาติ”
ซึ่งหมายถึงภาษาเขียนภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทย ผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล องค์ประกอบที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร ดังนี้
1. คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ คำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น ในสมัยก่อนๆมีความหมายอย่างหนึ่งแต่ในปัจจุบันแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ตรงกันข้ามกัน บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดี บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่แย่ลง
2. การสร้างคำกริยา การเสริมท้ายคำกริยา ด้วยคำกริยา ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่าทำให้ภาษายุ่งยาก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็ชัดเจนขึ้น ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน
3. การเข้าคู่คำ คือ การนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม



สำนวนโวหาร
ในการแปลขั้นสูงนี้ผู้แปลจักต้องรู้จักสำนวนการเขียน และการใช้โวหารหลายๆแบบ มิฉะนั้นจะทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจน บางครั้งอาจเข้าใจผิดเป็นตรงกันข้ามก็ได้ ในหนังสือที่แต่งดี มักจะประกอบด้วยสำนวนโวหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ถูกหลักภาษา ไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถึงจะพลิกแพลงไม่ตรงไปตามหลักเกณฑ์บ้าง ก็ไม่ถึงกับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
2. ไม่กำกวม สำนวนโวหารที่ดีจะชัดเจน แม่นตรง ไม่ชวนให้เข้าใจเข้าใจไขว้เขว สงสัย
3. มีชีวิตชีวา ไม่เนิบนาบ เฉื่อยชา ยึดยาด แต่มีชีวิตชีวา เร้าใจ ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกกระตือรือร้นอยากอ่านต่อจนจบ
4. สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่มีอคติ ไม่สร้างความหลงผิด ให้แก่ผู้อ่าน
5. คมคายแยบแหลม การใช้คำพูดที่เข้มข้น หนักแน่น แฝงข้อคิดที่ฉลาด โดยใช้ถ้อยคำไม่กี่คำ สำนวนแบบนี้มักจะได้แก่สุภาษิต คำคม คำพังเพย
          ปัญหาการแปลที่มักพบบ่อยๆคือ บางศัพท์ของภาษาอังกฤษไม่สามารถแปลมาเป็นภาษาไทยโดยเจาะจง มากกว่านั้นอาจจะไม่มีคำศัพท์ที่แปลความหมายคำนั้นได้ จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษทับคำศัพท์ภาษาไทยหรือบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ เช่นนี้ถ้าผู้แปลทราบข้อมูลไปถึงเบื้องลึกของภาษาหรือศัพท์นั้นๆ ว่ามีรากศัพท์หรือมีแหล่งที่มาจากไหน ก็จะเป็นเหตุให้บังเกิดความเข้าใจในภาษากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ด้วยสาเหตุนี้การแปลภาษาที่ประณีตจึงควรมีการแปล ที่สละสลวย เที่ยงตรง และชัดเจน เพราะว่าทราบถึงบริบททางภาษาอย่างถ่องแท้ เพื่อให้คำแปลเป็นไปอย่างแม่นยำ ไม่ผิดเพี้ยน หรืออ่านแล้วราบรื่นตามสำนวนภาษาที่งามยิ่ง
ยิ่งไปกว่านี้ภาษายังมีความสำคัญต้องอาศัยประสบการณ์ การเข้าถึงธรรมเนียมของประเทศนั้นๆ ประกอบกับการ
แปลภาษาได้ อย่างรอบคอบ ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอันดีระหว่างผู้เขียนผู้แปลและผู้อ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น