Welcome To Blog Translation การแปล 1 By Massalin Saelee 5681114028

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



Learn Log

8: 06/10/2015

Noun Clause



            ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มักเป็นปัญหากับผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งมีการศึกษาภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้นปัญหาที่พบบ่อยก็คือ การทำความเข้าใจในหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เนื่องจากโดยภาพรวมแล้วภาษาอังกฤษมีโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อน และแตกต่างจากภาษาไทยอย่างสิ้นเชิง ทำให้คนไทยที่ศึกษาภาษาอังกฤษมักเกิดปัญหาอย่างแก้ไม่ตก ทั้งนี้นอกจากภาษาอังกฤษจะมีเรื่องราวที่ค่อนข้างซับซ้อนแล้ว กฎและข้อยกเว้นต่างๆของหลักไวยากรณ์ยังมีมากมายซึ่งในบางกรณีกฎการใช้หลักภาษาอังกฤษยังหาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้ซ้ำว่าทำไม ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมามากมายเช่นนี้ ดังนั้นผู้ที่ต้องการศึกษาด้านภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นที่จะต้องยอมรับและพยายามทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพิ่มศักยภาพที่ดีสมบูรณ์ของการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งดิฉันกำลังจะกล่าวถึงการใช้ ว่ามีกฎการใช้และมีหน้าที่อย่างไร รวมไปถึงข้อยกเว้นการใช้ Noun Clause อีกด้วย

          Noun Clause เปรียบเสมือนคำนามคำหนึ่ง ซึ่อาจเป็นประธานหรือกรรมก็ได้ วิธีที่จะสังเกตว่า Clause ใดเป็น Noun Clause นั้นให้สังเกตดังนี้ คือ 

1. Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคด้วย that ซึ่งแปลว่า ว่า
2. Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคด้วยคำถาม คือ how, what, which, where, when, why, who, whose, whom
หน้าที่ของ  Noun Clause เมื่อนำมาใช้อย่างนาม หรือเสมือนเป็นคำนาม ก็ทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับคำนามทั่วไป คือ เป็นประธานของกริยา, เป็นกรรมของบุรพบท, เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา, เป็นคำซ้อนของนามตัวอื่น ซึ่งใน Noun Clause ส่วนใหญ่จะใช้ that และยังมีการละ that เพื่อไม่ให้ประโยคมีใจความยาวเกินไป แต่บางกรณี that ตัวนี้ก็ไม่สามรถละได้ จะต้องใช้ that และอยู่ในประโยคเสมอ การใช้ Noun Clause ในบริบทต่างๆ เพื่อขยายหรือมีส่วนเติมเต็มให้ประโยคนั้นมีใจความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

หน้าที่และตัวอย่างของ Noun Clause
1. เป็นประธานของกริยา เช่น
          What she is doing seems very difficult.
          สิ่งที่หล่อนทำอยู่ดูเหมือนว่าอย่ามาก
                   ( What she is doing เป็นประธานของกริยา seems )
          Where he lives is not known.
          เขาอยู่ที่ไหนยังไม่มีใครรู้
                   ( Where he lives เป็นประธานของกริยา is not known )

2. เป็นกรรมของกริยา เช่น
          I want to know where she lives.
          ผมอยากรู้ว่าหล่อนอยู่ที่ไหน
                   ( where she lives เป็นกรรมของ Know )

3. เป็นกรรมของบุพบท เช่น
          Wan laughed at what you said.
          วรรณหัวเราะเยาะสิ่งที่คุณพูด
                   (what you said  เป็นกรรมของ at)
          She is waiting for what she wants.
          หล่อนกำลังรอคอยสิ่งที่หล่อนต้องการ
                   (what she wants เป็นกรรมของ for) 

4. เป็นส่วนสมบูรณ์ complete ของกริยา เช่น
          This is what you want.
          นี่คือสิ่งที่คุณต้องการ
                   (what you wantเป็นส่วนสมบูรณ์ complete ของกริยา is )
          It seems that it is impossible.
          ดูเหมือนว่ามันเป็นไปไม่ได้
                    (that it is impossible เป็นส่วนสมบูรณ์ complete ของกริยา seems)

5. เป็นคำซ้อนของนามตัวอื่น เช่น
          His belief that coffee will keep him alert is incorrect.
          ความเชื่อของเขาที่เชื่อว่า กาแฟจะทำให้เขาตื่นอยู่เสมอนั้นไม่ถูก
                   (that coffee will keep him alert เป็นคำซ้อนของนาม belief)

          การศึกษาไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับผู้ที่มีความพร้อมและตั้งใจ การศึกษาเปรียบเสมือนรากฐานของชีวิต ถ้าหากชีวิตจะเข้มแข็งและมั่นคงได้ ราฐานของชีวิตเราต้องเข้มแข็งและแน่นหนามากพอ ที่จะรองรับสิ่งต่างๆที่จะผ่านเข้ามาในชีวิต เช่นเดียวกับการเรียนรู้หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ หลักไวยากรณ์เปรียบเสมือนรากฐานที่ดีของการใช้ภาษาอังกฤษทุกทักษะทั้ง ฟัง, พูด, อ่าน, เขียน ถ้ารากฐานของหลักไวยากรณ์แน่นและแข็งแรงกระบวนการใช้ภาษาอังกฤษถึงจะดีได้อย่างแท้จริง จากการศึกษาเรื่อง Noun Clause ทำให้ดิฉันเข้าใจและราบว่า Noun Clause คือ Clause ที่ทำหน้าที่ขยายหรือเติมเต็มประโยคให้มีความบูรณ์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งดิฉันยังได้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการสังเกต Noun Clause ว่าโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ Clause ที่ใช้ Wh-question ซึ่ง Clause ที่อยู่ในรูปของ Wh-question นั้นไม่ได้อยู่ในรูปของคำถามเพียงอย่างใด แต่กลับอยู่ในรูปของประโยคบอกเล่าอีกต่างหาก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น