อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันที่
29-30 ตุลาคม 2015
ผศ.ดร.ศิตา
เยี่ยมขันติธรรม
(เสวนาวิชาการงานวิจัย
Beyond
Language Learning)
วันที่
29 ตุลาคม 2015 (ช่วงเช้า)
ปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษมีการพัฒนาให้มีความก้าวหน้า
และผสมผสานกับเทคนิคต่างๆมากมาย
การค้นคว้าหาที่มาและต้องการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
งานวิจัยในปัจจุบันล้วนมุ่งที่จะค้นหาวิธีทำให้ตัวผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
สามารถช่วยเหลือตนเองให้เกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุดให้ได้
จึงเป็นที่มาของผลงานวิจัยที่เป็นหัวข้อการสนทนา (Beyond
Language Learning) เพราะท่านคณาจารย์ต้องการหาข้อพิสูจน์ของการคิด
และการคิดวิเคราะห์
(critical
thinking)
ระหว่าง
thinking และ analysis
มีความแตกต่างกันอย่างไร
ท่านคณาจารย์ได้ร่วมกันเสวนาว่า
การคิด
(thinking) คือ ทักษะที่ใช้ความคิดเห็นสิ่งต่างๆแล้วนำความรู้มาใช้บ่งบอกว่าสิ่งนั้นคืออะไรจากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่เคยพบเจอ
ส่วนการคิดวิเคราะห์
(analysis) คือ ทักษะการใช้ความคิดที่มีอยู่มาประมวลผลแล้วแยกแยะว่าสิ่งไหนคืออะไร
รวมถึงยังสามารถจัดกลุ่มการแยกแยะได้ร่วมกับการให้เหตุผลประกอบถึงสิ่งที่ได้ตัดสินใจลงไปท่าน
ดร.สุจินต์
หนูแก้ว
ได้ยกตัวอย่างง่ายๆว่า
การคิดกับการคิดวิเคราะห์แตกต่างอย่างไร
คือ
การที่เราให้นักเรียน
แยกว่า
อันไหนกระดุม
ลูกปัด
และลูกแก้ว
ลักษณะการคิดแบบใช้การคิดแบบไหนเป็นสิ่งไหน
แต่ยิ่งไปกว่านั้นถ้ากลุ่มนักเรียนยังสามารถแยกได้ลึกไปยิ่งกว่านั้นว่า
กระดุม
ลูกปัด
ลูกแก้ว
เหล่านั้นทำมาจากวัสดุอะไร
มีสีอะไร
นั้นคือการคิดแบบการคิดวิเคราะห์
ที่คิดลงไปในเชิงลึกอีกและจำแนกสิ่งต่างๆออกมาได้
จากการอธิบายเหล่านี้สามารถตระหนักถึงความคิดของตัวเองว่าใน1วันของดิฉัน
ดิฉันทราบเลยว่าวันนึงคนเราใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลา
แต่เราไม่เคยรู้เลยว่าความคิดของเรานั้นเป็นแบบความคิดธรรมดา
หรือเป็นความคิดแบบคิดวิเคราะห์
ซึ่งปัญหาเกิดขึ้นว่าแล้วเราจะจัดการกับความคิดได้อย่างไร
ความคิดของเรามีทั้งความคิดที่มีมาจากการจดจำและความคิดผ่านประสบการณ์
สิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันก็จะกลายเป็นความรู้ความคิดที่ผ่านการประมวลผลและถ่ายทอดออกมา
ซึ่งที่ครูจะต้องขัดเกลาที่มาของความคิดเหล่านี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้กับความคิดออกมาใช้ร่วมกันและเพิ่มเติมสิ่งที่เรียกว่า
การสร้างสรรค์สิ่งใหม่
เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน
แนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นปฏิสัมพันธ์/ความเหมาะสมในการใช้ภาษา
29 ตุลาคม
2015
(ช่วงบ่าย)
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้ได้ผลมากที่สุดคือ
ตัวผู้เรียนจะต้องมีความขยันกล้าที่จะเปลี่ยนทศนคติจากเดิม
ในขณะเดียวกันการถ่ายทอดความรู้จากตัวครูผู้สอนยังเป็นตัวแปรและตัวชี้วัดที่สำคัญ
เพราะฉะนั้นครูจะต้องคิดและควบคุมชั้นเรียนให้มีทิศทางที่บรรลุไปยังเป้าหมายวัตถุประสงค์
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ตัวครูผู้สอนจะต้องคำนึงก็
คือ
ตัวผู้เรียนนั้นแต่ละคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้แตกต่างกันดังนั้นแนวปฏิบัติแผนการสอนวิธีการถ่ายทอดย่อมมีรูปแบบที่แปลกใหม่
และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ภาษาอังกฤษมีหลากหลายรูปแบบของการเรียนรู้
และสามารถมีวิธีการถ่ายทอดได้มากมายดังที่ท่านวิทยากร
ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
ได้มีการแนะนำไว้ในการอบรมครั้งนี้
คือ
การสอนคำศัพท์(เริ่มจากคำใกล้ตัว
เพิ่มทักษะการจำโดยการเสริมการค้นคว้าที่มาของคำศัพท์)
การสอนแบบแสดงละคร(ผู้สอนพูดให้น้อย
เน้นให้ผู้เรียนมีการแสดงออกโดยดึงประสบการณ์ที่เคยพบเจอ)
การสอนออกเสียง(สามารถบูรณาการร่วมกับการสอนคำศัพท์ได้โดยต้องให้ผู้เรียนฝึกพูดออกมาเยอะๆรวมทั้งการสอนอวัยวะต่างๆที่ใช้ในการออกเสียง)
การสอนแบบวัฒนธรรม(เน้นให้ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนศึกษาวัฒนธรรมเจ้าของภาษา
โดยละทิ้งความเป็นภาษาแม่)
และการสอนแบบเล่นเกม(ผู้เรียนจะมีความสนใจ
และให้ความร่วมมือมากถ้ามีของรางวัล)
ทั้งนี้การประยุกต์ใช้ในการสอนแต่ละแบบผู้สอนต้องคำนึงถึงตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
แล้วต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสูงสุด
แนวทางในการสอนภาษาอังกฤษสามารถมีการบูรณาการได้มากกว่า1วิชา
เพราะโดยความจริงเป็นแล้วตัวภาษาอังกฤษไม่ได้มีเนื้อหาเป็นของตัวเองภาษาอังกฤษต้องยืมเนื้อหาจากวิชาอื่นมาบูรณาการกับหลักทฤษฎีของภาษาเองสังเกตได้ว่าภาษาอังกฤษมักใช้เนื้อหาที่ทันสมัย
เช่น
ข้อมูลข่าวสาร
มาเป็นตัวเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดตัวทฤษฎี
ดังนั้นครูที่สอนภาษาอังกฤษจะต้องมั่นศึกษาและใฝ่หาความรู้ให้ก้าวทันต่อโลกรวมถึงจะต้องหาแนวการสอนใหม่ๆอาจไม่ใช้แนวการสอนที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นไปได้
เพราะแนวการสอนสามารถออกแบบได้ไม่จำกัดขึ้นอยู่กับรูปแบบการเรียนการสอนของตัวครูและความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน
อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษบูรณาการทักษะ
วันที่
30 ตุลาคม
2015
(ช่วงเช้า)
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
เป็นกลวิธีการเรียนรู้ซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้วิธีการตั้งคำถาม
และกระบวนการแสวงหาหาความรู้ทักษะ
โดยไม่ยึดติดโครงสร้างของสาขาวิชาต่างๆทางด้านวิชาการ
เพื่อประโยชน์การจดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนกรเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นการเชื่อมโยงความคิดรวบยอดจากวิชาหนึ่งไปยังอีกวิชาที่นำเข้ามาผสมผสาน
เป็นการส่งเสริมให้มีการขยายโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้น
ตอบสนองความสามารถทางพหูปัญญาของผู้เรียนยังสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริงและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเองได้จนเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายมากขึ้น
การศึกษาในศตวรรษที่21
จำเป็นที่จะต้องมีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนประสาไปพร้อมกับองค์ความรู้หลัก
คือ
ความตระหนักเกี่ยวกับโลก,ความรู้ความเข้าใจด้านการเงินเศรษฐกิจ
ธุรกิจ
และเป็นผู้ประกอบการ,ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง,ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ,ความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งการศึกษาจะต้องคำนึงถึง
Learning
to know, to do, to live with the others, to be ครูในศตวรรษที่21 จะต้องออกแบบการเรียนการสอนและออกแบบโดยสอดคล้องกับเทคโนโลยีต่างๆมีการปรับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการกับนวัตกรรม
ICT
โดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่มาสนับสนุนการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กยุคใหม่ด้วยสารสนเทศรอบด้าน
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีจัดการห้องเรียน
สามารถยกระดับคุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
สร้างความเท่าเทียมกันด้านการศึกษา
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในการศึกษาของศตวรรษที่21
ควรมีการสอนแบบจัดการเรียนรู้ยกระดับ
คือ
สอนเฉพาะส่วนที่สำคัญ
เรียกว่า
“Essential” และความรู้จะเชื่อมโยงกันเอง
การสอนให้น้อยลงได้เรียนรู้มากขึ้น
โดยให้เด็กเรียนรู้จากการทำงานจริงผ่านประสบการณ์
โดยครูมีหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือโดยการออกแบบการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเหมาะสมของบริบทแต่ละคนและมีการเน้นให้ทุกฝ่ายมารวมตัวกัน
ช่วยกันคิดช่วยกันทำ
สิ่งที่สำคัญควรมีการส่งเสริม3ทักษะที่สำคัญ
คือ
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมการสร้างสรรค์มีการอย่างเป็นระบบ(การตัดสินใจ/ตัดสิน
และการแก้ปัญหา)
ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร
สื่อ
และเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ
ยืดหยุ่น
และสามารถปรับตัวได้
เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
กิจกรรมกลุ่ม
จำลองห้องเรียน
และการจัดการเรียนรู้การสอน
วันที่
30 ตุลาคม
2015
(ช่วงบ่าย)
สังคมการศึกษาในบ้านเรา
ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่าการเรียนนั้นเป็นเรื่องสำคัญกว่ากิจกรรมต่างๆ
โดยเฉพาะนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต่างก็อยากให้บุตรหลานตั้งใจเรียน
เพื่อที่จะได้รับเกียรตินิยมเพราะเชื่อว่านั่นคือ
ใบเบิกทางที่จะทำให้บุตรหลานของตนได้ทำงานที่มั่นคงและรายได้ดี
การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มนอกห้องเรียนจะช่วยให้เขาได้รับการเรียนรู้ในการวิธีการแก้ปัญหามีความรับผิดชอบ
และความอดทนทุกคนจะมีโอกาสได้แสดงความสามารถที่มีอยู่แล้วออกมา
และจะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ไปในตัว
ดังนั้นการเรียนเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กคนนั้นจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้
แต่การเรียนรู้จากกิจกรรมนอกห้องเรียนจะทำให้เขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่สอนจากตำราเรียน
อึกทั้งยังได้สัมผัสถึงวิธีการทำงานจริงอีกด้วย
จากการฝึกอบรมกับ
ผศ.ดร.ศิตา
เยี่ยมขันติธรรม
ท่านได้พูดถึงการทำกิจกรรมกลุ่ม
และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานกลุ่ม
กิจกรรมแรกเป็นกิจกรรมเข้าจังหวะโดยใช้ชื่อว่า
“Tic
Tac Toe” ที่สอนให้รู้จักใช้ไหวพริบพร้อมกับการออกกำลังกายโดยใช้ท่าทางประกอบ
กิจกรรมที่สอง
คือ
การใช้จังหวะเพลงประกอบและส่งลูกบอล20ลูกไปต่อๆกัน
เมื่อเพลงจบลูกบอลหยุดที่ใคร
คนนั้นต้องออไปเป็นตัวแทนที่ช่วยกันแต่นิทานหนึ่งเรื่อง
โดยให้พูดได้คนละ1ประโยตเท่านั้น
เมื่อนิทานเสร็จสมบูรณ์
ก็ให้แบ่งกลุ่มวาดภาพเพื่อเล่านิทานหนึ่งเรื่องนี้โดยจะต้องเล่านิทานจากภาพให้จบภายใน3ประโยค
แลกลุ่มไหนที่ผลงานโดดเด่นก็จะได้รับรางวัลตอบแทน
กิจกรรมเหล่านี้ต้องอาศัยหลายทักษะทั้งจินตนาการในการแต่งนิทาน
ฝีมือการวาดภาพที่สามารถใช้เป็นสื่อประกอบการอธิบายนิทาน
และสิ่งที่ได้รับยิ่งไปกว่าตัวเนื้อหาคือ
การได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม
ฝึกความรับผิดชอบ
การแบ่งหน้าที่
ความรับผิดชอบในการทำงานให้เสร็จภายใน15นาที
จะเห็นได้ว่าการสอนโดยใช้เทคนิคแบบบูรณาการนอกจากเด็กจะได้รับความรู้แล้วยงเป็นการดึงดูดความสนใจจากผู้เรียน
และฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
และใช้ทักษะความสามารถในแต่ละด้านของตนเองออกมา
ซึ่งการสอนแบบผสมผสานรูปแบบนี้ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการทำงาน
และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านการทำงานจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น