การฝึกทักษะ....นอกห้องเรียน
12
: 20/10/2015
ฝึกทักษะด้านการฟัง
จุดเริ่มต้นของการใช้ภาษาอังกฤษมักเริ่มต้นจากทักษะการฟัง
ทักษะการฟังจะเป็นกระบวนการรับข้อมูล
การรับข้อมูลจะมีประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดได้อีกหลากหลายทักษะ
ดังนั้นเราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อน
และต้องฝังประโยคซ้ำๆหลายๆรอบจนขึ้นใจแล้วพูดตาม
ออกเสียงตามให้เหมือนที่สุด
อาจไม่เข้าใจความหมายหรือคำแปล
การฟังภาษาอังกฤษถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด
และพัฒนายากที่สุด
ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของคนไทยส่วนใหญ่รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดของการเรียนภาษาอังกฤษของคนไทย
ภาษาไทยที่เราพูด,
อ่าน,
และเขียนได้ในปัจจุบันมีพื้นฐานมาจากอะไร
ก็มีพื้นฐานมาจากการฟัง
ฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมาล้อเลียนเสียงนั้น
(คือการพูดตาม) จนพูดได้
หลังจากนั้นจึงเริ่มการเขียน
แล้วจึงตามมาด้วยการอ่าน
เช่นเดียวกันหากเราได้ฟังภาษาอังกฤษหลายๆ
รอบ
บ่อยๆ
จนจำขึ้นใจแล้ว
เราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ
นอกจากนี้ยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วย
ทักษะการฟัง
หมายถึง
ความสามรถในการจับประเด็นใจความหลักจากสิ่งที่ได้ฟังอย่างถูกต้องและครบถ้วน
ซึ่งเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน
ผู้เรียนต้องเข้าใจสาระสำคัญจากสิ่งที่พูด
อารมณ์และความคิดเห็นของผู้พูด
และสามรถตอบสนองระบุความสามารถความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูด
หรือ
บริบทของการพูดได้
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญ
และมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง
ครูผู้สอนมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร
จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
สื่อสารในชีวิตประจำวัน
การฟังนับว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่ง
เป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอน
เพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสามารถพูดโต้ตอบ
อ่าน
หรือ
เขียนได้
ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ
ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังอย่างเพียงพอ
และจริงจังคุณค่าของการฟัง
เป็นเรื่องสำคัญมากที่เด็กๆ
จะต้องฟังภาษาอังกฤษที่เหมาะสมระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
ภาษาควรจะง่ายสำหรับเด็กและอยู่ในระดับปัจจุบัน
หรือเหนือระดับที่เข้าใจแล้วเล็กน้อย
ถ้าระดับยากเกินไป
เด็กอาจสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกก็ได้
การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน
2 กรณี คือการฟังที่ได้ยินมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป
( Casual
Listening ) การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย
( Focused
Listening ) จุดมุ้งหมาย
หรือ
วัตถุประสงค์ของการฟัง
คือ
การรับรู้แบะทำความเข้าใจใน
“สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความสู่เรา
ซึ่งเทคนิควิธีปฏิบัติ
สิ่งที่สำคัญที่ครูผู้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟังมีอยู่
2
ประการ
คือ
สถานการณ์ในการฟัง
สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
สถานการณ์จริง
หรือสถานการณ์จำลองในห้องเรียน
ซึ่งอาจเป็น
การฟังคำสั่งครู
การฟังเพื่อนสนทนา
การฟังบทสนทนาจากบทเรียน
การฟังโทรศัพท์
การฟังรายการวิทยุโทรทัศน์
วีดีทัศน์
การเราจะฟังสารได้อย่างเข้าใจควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง
โดยครูผู้สอน
อาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท
ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้
เช่นการทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว
ซึ่งปรากฏอีกในสารที่จะได้รับฟัง
เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะเรียนรู้ใหม่จากการฟัง
กิจกรรมระหว่างการฟัง
หรือ
กิจกรรมที่จะสอนการฟัง
(While
– listening ) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น
กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง
แต่เป็นการ
“ฝึกทักษะการฟัง เพื่อความเข้าใจ”
กิจกรรมระหว่างการฟังไม่ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ปฏิบัติทักษะอื่น
เช่น
อ่าน
เขียน
หรือพูดมากนัก
กิจกรรมการฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง
เราจะมีภาพคนละหลายภาพ
มีเครื่องหรือครูอ่านทีละประโยค
เราก็จะเลือกภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง
โดยการเขียนหมายเลขของลำดับที่ประโยคลงใต้ภาพ
ฟังแล้วปฏิบัติตามเสียงที่ได้ยิน
เราสามารถแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ยินเสียงแต่ละประโยค
หรือข้อความนั้น
ฟังแล้วเขียนเส้นทาง
ทิศทาว
ผู้ฟังมีภาพที่แตกต่างไป
หลังจากมีการฝึกการฟังที่เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษา
ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟัง
เช่น
อาจฝึกทักษะการเขียน
สำหรับผู้เรียนระดับต้นๆ
โดยเขียนตามคำบอกจากเสียงที่ได้ยิน
เป็นการตรวจสอบความรู้ความถูกต้องของการเขียน
คำศัพท์
สำนวน
โครงสร้างไวยากรณ์ของประโยคนั้น
หรือฝึกทักษะการพูดสำหรับผู้เรียนระดับสูง
โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง
หรือ
อภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด
เป็นต้น
ดังนั้น
การพัฒนาทักษะการฟัง
จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากที่สุดที่ต้องได้รัยการพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก
การฟังมากๆ
ซ้ำๆ
นอกจากจะทำให้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษดีขึ้นแล้ว
ยังทำให้สามารถพูดได้
เมื่อเราพูดออกมาได้แล้ว
เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว
นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว
หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้นและเพิ่มประโยคเหล่านั้นให้มีสะสมในสมองมากขึ้น
ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดภาษาอังกฤษเป็นประโยคได้เร็วขึ้น
เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้ว
แล้วจึงมาฝึกหรือแก้ไขคำที่เรามักจะออกเสียงผิดไม่ชัดเจน
ให้พูดได้ถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ตรงนี้อาจต้องอาศัยครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษา
เช่นชาวอังกฤษหรือชาวอเมริกันทีมีประสบการณ์มาช่วยสอน
เพื่อให้ได้เร็วและมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น