กระบวนการแปล (Process of
Translating)
04/01/2016
ปัจจุบันการเรียนภาษาที่สองนอกเหนือจากภาษาแม่เป็นความนิยม
และถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
และภาษาที่คนล้วนให้ความสำคัญเป็นอย่างมากที่สุดในตอนนี้ คือ ภาษาอังกฤษ
ด้วยความที่เป็นสากล สามารถใช้สื่อสารกับคนทั่วโลก
ซึ่งสิ่งที่เราจะต้องศึกษานอกเหนือจากการพูดสื่อสารแล้ว คือ
ตัวหลักโครงสร้างไวยากรณ์ และเทคนิคที่สำคัญๆทางภาษา
และสิ่งที่สำคัญอีกหนึ่งสิ่งก็คือ การแปล
ทั้งการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หรือ
การแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งในอดีตนั้นการแปลมักใช้กับการแปลคัมภีร์
วรรณกรรม ซึ่งเป็นงานของชนชั้นสูงและเป็นผลงานของผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
แต่ต่อมามีความต้องการงานแปลในด้านของการทำการค้า
และติดต่อต่างๆที่มีปริมาณสูงขึ้น จนงานแปลเป็นผลงานของชนชั้นสามัญทั่วไป
ดังนั้นวิธีการที่จะทำงานแปลที่มีคุณภาพและเป็นวิธีที่คนทั่วไปนำเอาไปปฏิบัติได้
และจัดเป็นขั้นตอนที่นักแปลมือใหม่จะทำตามได้ เรียกว่าเป็น “กระบวนการแปล” (translation process) ซึ่งมีตัวอย่าง 2 รูปแบบ คือ ของ Roger T.Bell และ Daniel
Gile Roger T.Bell (Bell’s mode) เป็นการแทนที่ของการนำเสนอผ่านตัวอักษรในภาษาหนึ่ง
โดยการนำเสนอใหม่ผ่านเครื่องมือทางภาษาที่สอง กระบวนการที่เกิดขึ้นในการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาที่แปลเกิดภายในระบบความคิด
(memory system) ซึงประกอบไปด้วย 2
ขั้นตอนหลักๆคือ Analysis การวิเคราะห์ภาษาต้นฉบับ
ออกมาเป็นความหมายที่ยังไม่เป็นภาษา Synthsis การสังเคราะห์ความหมายเป็นภาษาฉบับแปล
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ (Analysis)
1.1 การวิเคราะห์โครงสร้าง
เป็นการอ่านต้นฉบับในระดับอนุประโยค แล้ววิเคราะห์แยกออกเป็นโครงสร้าง
โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างภาษาที่เก็บไว้ในคลังความจำ
- ตัวอย่าง The
dog bit the man. = Subject + Predicate + Object (SPO)
1.2 การวิเคราะห์เนื้อหา
เป็นการใส่เนื้อหาให้กับโครงสร้างที่ได้มาจากการวิเคราะห์โครงสร้าง
แล้วจะวิเคราะห์ว่าอนุประโยคนี้เกี่ยวกับอะไร
1.3 การวิเคราะห์การใช้ภาษา
(Pragmatic Analysis) จะดำเนินวิเคราะห์ 2 อย่างคือ
- แยกเนื้อหาหลัก (thematic
structure)
- วิเคราะห์ลีลาภาษา (register
structure) โดยแยกออกเป็น
Tenor of discourse : ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับและผู้ส่งสาร
ซึ่งแสดงด้วยภาษาที่ผู้สงสารเลือกใช้
Mode of discourse : ประเภทการเขียนที่ใช้
Domain of discourse : ความครอบคลุมของข้อความความมุ่งหมายที่ผู้ส่งสาร
ต้องการสื่อสารด้วยข้อความนี้
ลักษณะการวิเคราะห์ในรูปแบบนี้ Bell เปรียบเสมือนการนำก้อนน้ำแข็งมาทุบย่อย
แล้วนำไปแช่แข็งให้กลับเป็นก้อนใหม่
ซึ่งเป็นน้ำแข็งอีกก้อนแต่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ
ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์
(Synthesis) เป็นการสร้างข้อความที่ถ่ายทอดความหมายทั้งหมดหรือบางส่วนของต้นฉบับ
ในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วยการสังเคราะห์ 3 แบบ คือ
1.1 Pragmatic Synthesis พิจารณาว่าจะรักษาหรือเปลี่ยนแปลงต้นฉบับในด้านความมุ่งหมาย เนื้อหาหลัก
และลีลาภาษา
2.2 Semantic Synthesis ดำเนินการสร้างโครงสร้างที่บรรจุเนื้อหาของข้อความ
เพื่อส่งต่อให้ขั้นตอนต่อไป
2.3 Syntactic Synthesis จะตรวจสอบความเหมาะสมของความหมาย และประเภทของข้อความ
และส่งไปยังระบบการเขียนเพื่อเรียบเรียงข้อความในภาษาการแปล
Deniel Gile (Gile’s model) เป็นรูปแบบที่อธิบายกระบวนการที่นักแปลอาชีพใช้ในการดำเนินการเปลี่ยนภาษาต้นฉบับเป็นภาษาฉบับแปล
เพื่อใช้ในการฝึกฝนผู้เรียนแปล
ขั้นตอนที่ 1 ความเข้าใจ
(Comprehension)
การแบ่งข้อความที่อ่านออกเป็นหน่วยเดี่ยว ( a single unit )
ประกอบด้วย meaning hypothesis เป็นขั้นตอนที่นักแปลให้ความหมายชั่วคราว
ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการภายในความคิดในการกำหนดความหมาย
นักแปลใช้ทั้งความรู้ภาษาต้นฉบับ ความรู้ทั่วไป Gile เน้นว่า
หากนักแปลมีความเข้าใจต้นฉบับเพียงความหมายของคำหรือโครงสร้างภาษาเท่านั้น
ย่อมไม่สามารถสร้างงานแปลที่ดีได้ วิธีเดียวที่จะทำให้นักแปลมั่นใจว่าเข้าใจได้ดีที่สุด
คือ การวิเคราะห์ต้นฉบับอย่างรอบคอบ
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างใหม่ (Reformulation) เมื่อนักแปลมั่นใจในความหมายของ Translation
Unit ก็จะแปลออกมาเป็นภาษาฉบับแปล ด้วยการใช้ความรู้ภาษาฉบับแปล จะตรวจสอบว่าบทแปลในแง่การยอมรับด้านภาษา
ที่เหมาะสมและการใช้ศัพท์เฉพาะ ตรวจสอบความถูกต้องกับต้นฉบับอีกด้วย
จากการศึกษารูปแบบกระบวนการแปลของนักวิชาการด้านการแปล
2 ท่าน คือ Bell’s mode และ Gile’s
model สามารถนำมาปรับเป็นรูปแบบกระบวนการแปลได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ต้นฉบับ
Analyzing เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของต้นฉบับที่จะสามารถแปลได้โดยแยกจากหน่วยอื่นๆ
มีขนาดตั้งแต่ระดับคำจนไปถึงระดับประโยค มักแบ่งตามหน่วยหน่วยทางไวยากรณ์
จะช่วยให้นักแปลทำหน้าที่ผู้อ่านต้นฉบับได้รับข้อมูลที่สื่อสารผ่าน Translation
Unit ได้ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นความหมายเชิงโครงสร้างหรือความมุ่งหมายของการสื่อสาร
ผลที่ได้จากการขั้นนี้จึงเป็นความเข้าใจต้นฉบับ
ขั้นตอนที่ 2 การแปลต้นร่าง
Drafting การหาภาษาฉบับแปลที่มีความหมายเทียบเคียงภาษาต้นฉบับสามารถแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ
ดังต่อไปนี้
1. Finding equivalence at word and
phrase level เป็นการหาคำหรือวลีที่มีความหมายเหมือนต้นฉบับ
แต่หากไม่มีคำในภาษาฉบับแปลที่มีความหมายตรงตามต้นฉบับ Nida (1974) เสนอวิธีการหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงที่สุดด้วยวิธี componential
analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หารายละเอียดของคำ
2. Fading equivalence at the level
of grammar ข้อแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาฉบับแปลและภาษาต้นฉบับอาจทำให้เนื้อหาที่ต้องการสื่อสารเปลี่ยนไป
ดังนั้นนักแปลจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์ของทั้งสองภาษา หรือมีความรู้ว่าโครงสร้างในภาษาฉบับแปลโครงสร้างใดที่สามารถแทนที่โครงสร้างภาษาต้นฉบับ
ตัวอย่างเช่น ในประโยคภาษาไทย พวกเขารอนแรมมาในทะเล แปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยการใช้ present
perfect tense ว่า They have been at sea. เพื่อบอกว่าเป็นการกระทำที่กินเวลาและต่อเนื่อง
ซึ่งในไวยากรณ์ภาษาไทยไม่มีเรื่อง tense เช่นนี้
3. Finding equivalence at the level
of text เป็นการเชื่อมโยงส่วนประกอบของประโยคหรือข้อความ
ขั้นตอนที่ 3 การปรับแก้ไข (Revising)
งานแปลที่ดีมีคุณภาพนั้นจะต้องมีการใช้ภาษาฉบับแปลที่เขียนเทียบเท่าต้นฉบับ
และเป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติของภาษาฉบับแปล เมื่อ แปลต้นร่างทั้งฉบับเสร็จสิ้นลง
ผู้แปลควรตรวจสอบแก้ไขผิด และข้อบกพร่องต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การสะกดคำ
ไวยากรณ์ จากนั้นหากมีเวลาผู้แปลควรทิ้งงานไปชั่วครู่
เพื่อผละออกจากต้นฉบับแล้วกลับมาอ่านงานแปลถ่ายทอดเนื้อหาต้นฉบับไครบถ้วน
ไม่มีเนื้อหาใดขาดหายไป หรือไม่มีเนื้อหาที่ผิดไปจากต้นฉบับ
จากกระบวนการด้านการแปลทั้ง
2 รูปแบบ กระบวนการแปลของ Bell มีแนวคิดพื้นฐานว่าการแปล
เป็นกระบวนการข้อมูลข่าวสารของมนุษย์ (human information processing) ซึ่งเกิดอยู่ในบริเวณทางจิต (psychological domain) เป็นความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว
(short – term – and long- term memory)
ใช้การตีความหมาย (non – language specific semantic representation) เป็นเครื่องมือในการถอดความหมาย (decode)
ของภาษาต้นฉบับ และใส่ความหมาย (encode) เป็นภาษาฉบับแปล
กระบวนการแปลนี้ดำเนินการทำกับหน่วยของภาษาระดับอนุประโยค (clause) และขั้นตอนการดำเนินการทำได้ทั้งบนสู่ล่าง (top-down) และล่างสู่บน (bottom-up) การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนไม่จำเป็นต้องเสร็จสิ้นก่อนจึงจะดำเนินการในขั้นต้อไป
ส่วนการวิเคราะห์ในรูปแบบของ Gile กล่าวไว้ว่าการวิเคราะห์ต้องทำมากกว่าการทำข้อความที่คลุมเครือให้ชัดเจนเท่านั้น
และต้องทำจนถึงขั้นเข้าใจความหมายอย่างราบรื่น ทั้ง2 รูปแบบสามารถนำมาปรับและประยุกต์เป็นกระบวนการการแปลที่สามารถพัฒนาทักษะทางด้านการแปลของตัวเองได้อย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น