Welcome To Blog Translation การแปล 1 By Massalin Saelee 5681114028

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล


ความสำคัญของการแปล
ปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง การทำธุรกิจ ตลอดจนในการศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้วย จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมายเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศต่างๆมากขึ้น
การใช้ภาษาต่างประเทศในหน่วยงานต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นทุกที่ปรากฏว่า ภาษาอังกฤษมีปริมาณการใช้มากที่สุด เพราะ         1. หน่วยงานต่าง ๆ ได้ขยายปริมาณ
                  2. มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
                  3. มีตำรา เอกสารภาษาอังกฤษซึ้งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา

การแปลในประเทศไทย
มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้ความต้องการด้านการแปลจึงมากขึ้นเป็นลำดับการแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และ สร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติทำให้เกิดสันติภาพในโลก

                                                                                                                                                                                                                       
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ
 เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้ และผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว ดังนั้น นักศึกษาจะต้องได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ ทำความเข้าใจและนำมาใช้ในวิชาการแปล เพราะจะทำให้สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี ไม่เกิดปัญหาในการอ่านหรือเขียนประโยคบางแบบโดยเฉพาะประโยคที่มีโครงสร้างยากๆหรือยาวๆทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาที่จะใช้แปล



การแปลคืออะไร
 คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมหากทำได้
คุณสมบัติของผู้แปล
               
1. เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาต้นฉบับ และภาษาที่ใช้แปลดี และหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
2. เป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาการแขนงอื่น ๆ
3. เป็นผู้ที่มีวิจารณญาณในการแปล
4. เป็นผู้ที่มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาการแปลได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์ของการสอนการเกี่ยวกับการแปล

1.  การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2.  ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวางมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆ
4. ให้ผู้เรียนแปล ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
บทบาทของการแปล
- การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง
- ในการสื่อสารมีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก เพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร

ลักษณะของงานแปลที่ดี
          1. ความหมายถูกต้อง และครบถ้วนตามต้นฉบับ
          2. รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
          3. สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา




ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
 ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป ใช้ศัพท์เฉาะสาขา ศัพท์เทคนิค รูปประโยควรรคตอน ตลอดจนสำนวนเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสม สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ ใช้การแปลตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลคำต่อคำ

การให้ความหมายในการแปล
 การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน การให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1.  การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.  การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ อาจจะดูจากสิ่งของ รูปภาพ การกระทำ ตลอดจนสถานภาพต่าง ๆ
                3. ศัพท์เฉพาะ
           4. ตีความทำนาย

การวิเคราะห์ความหมาย
1. องค์ประกอบของความหมาย
เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย ภาษาแต่ละภาษาจึงต้องมีระบบที่จะแสดงความหมาย คือ
1. คำศัพท์ คือคำที่ตกลง ยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาที่จะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
2. ไวยากรณ์ หมายถึง แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
3. เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย หากนำเสียงเหล่านี้มารวมกันเข้าอย่างมีระบบระเบียบ จะทำให้เกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า คำ หรือ คำศัพท์
2. ความหมายและรูปแบบ
1. ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2. รูปเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
3. ประเภทของความหมาย
1.  ความหมายอ้างอิง (referential meaning) หมายถึง ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ อาจเป็นความหมายทั่วๆไป หรือเป็นความหมายอ้างเฉพาะ
2. ความหมายแปล (connotative meaning) หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทาง บวก หรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3. ความหมายตามบริบท (contextual meaning) รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
4. ความหมายเชิงอุปมา (figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ ทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย และการเปรียบโดยนัย ผู้แปลจะต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบ
 1. สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ (topic)
               2. สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ (illustration)
             3. ประเด็นของการเปรียบเทียบ (point of similarity)

การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เช่น แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ ข่าว สารคดี บทความทางวิชาการ เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทางด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย

เรื่องที่จะแปล
เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา ต้องเลือก ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย จึงควรมีคณะกรรมการแปลระดับชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ คือ กรรมการ และอนุกรรมการ การแปลหนังสือวิชาการสาขาต่าง ๆ จะเป็นการกำจัดอุปสรรคความรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ จึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขาวิชานั้นๆ ผู้แปลแต่ละสาขาจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนด้วย
 การเลือกหนังสือที่จะแปล
          1. เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
          2. เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล ตลอดจนความละเมียดละไมลึกซึ้งในภาษา
          3. ใช้ภาษาแปลอย่างถูกต้อง
ข้อควรระวัง คือ วัฒนธรรมของเรื่องเดิม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น